ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมะตูม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bael
ชื่ออื่นๆ : มะปิน, กระทันตาเถร, ตุ่มเต้ง, ตูม
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว มีหนามขึ้นตามกิ่งทั่วลำต้น
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ใบอ่อนสีเขียวอ่อนหรือสีชมพู มีขนละเอียด ใบแก่สีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีเขียวอมขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
ผล : รูปรีกลมหรือยาว ผิวเรียบเกลี้ยง เป็นมัน เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อในสีส้มปนเหลือง นิ่ม
เมล็ด : รูปรี และแบน มีเส้นขนหนาแน่นปกคลุม มียางใสเหนียวหุ้มเมล็ด สีน้ำตาลอ่อน
การขยายพันธุ์ของต้นมะตูม
ตอนกิ่ง เสียบยอด และ เพาะเมล็ด
การดูแลต้นมะตูม
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมะตูม
- ราก แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิด
- ผลสุก เป็นยาระบายท้อง
- ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม
- ผลโตเต็มที่ แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
- ใบสด แก้หวัด
- ดอก แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
- แก่น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด
- เปลือกต้น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ แก้พยาธิ แก้บิด
ความเชื่อของต้นมะตูม
เป็นไม้มงคล คนโบราณเชื่อว่า ใบมะตูมป้องกันภูตผีปีศาลและเสนียดจัญไรได้ นิยมปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน
ใบมะตูม ยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงหรืองานสมรสพระราชทานจะได้รับพระราชทานใบมะตูมเพื่อเป็นสิริมงคล
ต้นมะตูม เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชัยนาท
ประโยชน์ของต้นมะตูม
- ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ หรือมาทำเป็นมะตูมเชื่อม หรือเป็นส่วนผสมของขนม
- ผลแห้ง นำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม
- ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสลัดหรือใช้กินกับน้ำฟริกหรือลาบ
- เปลือกผลดิบ ทำสีย้อมสีเหลือง
- เนื้อไม้ นำมาแปรรูป
- ปลูกเป็นไม้ประดับ