ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพญาปล้องทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacantus nutans (Burm.) Lindau
ชื่อภาษาอังกฤษ : Sabah snake grass
ชื่ออื่นๆ : ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องคำ, พญาปล้องดำ, พญายอ, เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวเมีย
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ผิวเกลี้ยง ลำต้นเป็นเหลี่ยม ต้นอ่อนเป็นสีเขียว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก ปลายใบยาวแหลม ไม่มีหนาม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกตั้งขึ้น ดอกสีแดงส้ม
ผล : เป็นผลแห้ง รูปรี แตกได้
เมล็ด : แบน

การขยายพันธุ์ของต้นพญาปล้องทอง
เพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพญาปล้องทอง
- ใบ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน ลดอาการอักเสบ
- ต้น ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาอาการอักเสบ
- ราก ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว แก้พิษงู ตะขาบ แมงป่อง
ประโยชน์ของต้นพญาปล้องทอง
- ใบ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก
- ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร