ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นปีบทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera hainanensis Merr.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Tree jasmine
ชื่ออื่นๆ : กากี, จางจืด, กาซะลองคำ
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปทรงกรวย ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอนสูงเปลือกสีน้ำตาลอ่อน แตกล่อนเป็นแผ่นบางขนาดเล็กมีช่องระบายอากาศเป็นจุดทั่วลำต้น
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบหนา เกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบด้านบนสีเขียว แผ่นใบด้านล่างสีอ่อนกว่า
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีส้มปนเหลือง รูประฆัง ดอกบานไม่พร้อมกัน
ผล : เป็นฝักแห้งกลม ยาวเรียว ฝักแก่จะบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย
เมล็ด : แบนมีปีกบางใสด้านข้างทั้งสองด้าน
การขยายพันธุ์ของต้นปีบทอง
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ แยกหน่อ
การดูแลต้นปีบทอง
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดมาก
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นปีบทอง
- ลำต้น แก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า แก้อาการตัวร้อน แก้อาเจียน แก้ท้องเดิน
- เปลือกต้น รักษาอาการปวดฟัน เป็นยาลดไข้ แก้อาการเมายา แก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน
- ใบ รักษาแผลสด ช่วยห้ามเลือด
ประโยชน์ของต้นปีบทอง
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ดอก สามารถรับประทานได้โดยการทอดหรือลวก
- ดอก นำไปทำสีย้อมผ้า