ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นชะเอมไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
ชื่ออื่นๆ : ชะเอมป่า, ตาลอ้อย
ลำต้น : เป็นไม้เถารอเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวาง เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
ผล : เป็นฝักแบน โคนและปลายแหลม มีขนหนาแน่น ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมล็ด : รูปกลมถึงรูปไข่กลับ สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นชะเอมไทย
เพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นชะเอมไทย
- ราก แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย แก้เจ็บคอ แก้กำเดา
- เนื้อไม้ บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ แก้ลม แก้เลือดออกตากไรฟัน
- ต้น ถ่ายลม แก้โรคในตอ แก้โรคตา ทำให้ผิวหนังสดชื่น
- ใบ ขับโลหิตระดู
- ดอก ช่วยย่อยอาหาร
- ผล ขับเสมหะ