ค้นหาสินค้า

คิ้วนาง

ขายต้นคิ้วนาง ราคาถูก การปลูกคิ้วนาง วิธีดูแล และการขยายพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะคิ้วนาง ดอกและสรรพคุณ

ต้นคิ้วนาง

คิ้วนาง หรืออรพิม
คิ้วนาง หรืออรพิม วัฒนา กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นคิ้วนาง

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นคิ้วนาง ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์คิ้วนาง

เมล็ดอรพิมหรือคิ้วนาง
เมล็ดอรพิมหรือคิ้วนาง คอนสวรรค์ ชัยภูมิ

ราคา 5.00 บาท /เมล็ด

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์คิ้วนาง

ชัยภูมิ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์คิ้วนาง ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นคิ้วนาง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia winitii Craib

ชื่ออื่นๆ : อรพิม

ลำต้นของต้นคิ้วนาง : เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ทรงพุ่มแน่น มีมือเกาะพันเป็นเส้นยาว ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงที่กิ่งก้าน หูใบขนาดเล็กร่วงง่าย เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล

ดอกของต้นคิ้วนาง : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง ดอกสีเหลืองครีม ดอกมีกลิ่นหอม

ผลของต้นคิ้วนาง : แบบฝักถั่ว สีน้ำตาล แบนเกลี้ยง

ใบของต้นคิ้วนาง : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง เส้นใบสีขาว ใบอ่อนสีชมพู เมื่อแก่สีเขียว

เมล็ดของต้นคิ้วนาง : แบนเกลี้ยง

คิ้วนาง

การขยายพันธุ์ของต้นคิ้วนาง

โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

การดูแลต้นคิ้วนาง

ปลูกได้ในดินร่วนซุยระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ไม่ชอบน้ำขัง การเจริญเติบโตปานกลาง

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นคิ้วนาง

เปลือก แก้ท้องเสีย

ประโยชน์ของต้นคิ้วนาง

- ปลูกประดับทำซุ้มไม้เลื้อย

- เปลือกไม้ ใช้เคี้ยวกับหมาก

- เส้นใยจากเปลือกไม้ ใช้ทำเชือก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของคิ้วนาง (3434)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Bauhinia winitii Craib.
ชื่อวงศ์:    LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ:    -
ชื่อพื้นเมือง:    อรพิม
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้เถามีมือเกาะกิ่งอ่อน มีขนสีน้ำตาล
    ใบ    ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ เกิดช่องว่างเป็นระยะห่างระหว่างสองแฉก 0.8-1.6 ซม. ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ เส้นใบมี 4 คู่ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง
    ดอก    ช่อแบบช่อกระจะ ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลางลดหลั่นตามลำดับจากบนลงล่าง ดอกย่อยประกอบด้วย วงกลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ แยกกัน ปลายของแต่ละแฉกแหลม ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง กลีบดอกจำนวน 5 กลีบ แยกกัน แบ่งเป็นกลีบกลาง  สีเหลืองครีมรูปไข่กลับ กลีบคู่ข้างและกลีบคู่ล่าง ขนาดเท่ากัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ
    ฝัก/ผล    แบบฝักถั่ว สีแดง แบนเกลี้ยง มี 2-4 เมล็ด เมื่อแก่เต็มที่ฝักแตก
    เมล็ด    สีขาวแบน ๖-๑๐ เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    สิงหาคม-มกราคม
การขยายพันธุ์:    การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอก
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับและสมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:    ไทย
แหล่งที่พบ:    ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าโปร่งบนภูเขาหินปูนในภาคกลาง และภาคตะวันออก