ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นขันทองพยาบาท
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflorum (A.Juss.)
ชื่อภาษาอังกฤษ : False lime
ชื่ออื่นๆ : มะดูกเลื่อม, หมากดูก, ขันทอง, ขนุนดง, ข้าวตาก, ขุนทอง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น กิ่งก้านอ่อนมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางเรียบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอก เนื้อใบหนาเป็นมัน ก้านใบยาว ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน
ดอก : ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกสีขาวนวล เป็นดอกแบบแยกเพศ อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก มีกลิ่นหอม
ผล : กลม ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ผลแก่แล้วแห้งแตกตามพู
เมล็ด : ค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้ม และมีเนื้อบางๆสีขาว หุ้มเมล็ดอยู่

การขยายพันธุ์ของต้นขันทองพยาบาท
เพาะเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นขันทองพยาบาท
- เนื้อไม้ แก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค
- เปลือกต้น เป็นยาบำรุงเหงือก แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิ
- ราก แก้ไข้ แก้กามโรค แก้พิษในกระดูก แก้โลหิตเป็นพิษ
ประโยชน์ของต้นขันทองพยาบาท
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงา
- เนื้อไม้ นำมาทำเครื่องมือใช้สอยหรือทำเครื่องจักสาน