ค้นหาสินค้า

กำยาน

จำหน่ายต้นกำยาน กล้าและกิ่งพันธุ์กำยาน สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นกำยาน

กำยานเบตง
กำยานเบตง เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

ราคา 800.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกำยาน

นครราชสีมา (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกำยาน ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกำยาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Styrax benzoin Dryand.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Benzoin

ชื่ออื่นๆ : กะมะแย, กำยานญวน, กำยานสุมาตรา, เกลือตานตุ่น, ชาติสมิง, กำหยาน, กำยานไทย, กำยานต้น

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเทา หรือ สีหม่น ตามกิ่งก้านมีปุ่มหูดรูปเคียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมเล็กน้อย

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปใบหอกยาวเรียว โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนามีขนสีขาวขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาว

ดอก : ออกเป็นช่อบริเวณง่ามใบ หรือปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาว แต้มชมพู หรือ แดง

ผล : เป็นผลแห้ง ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน รูปทรงค่อนข้างกลม หรือ ออกแป้น เปลือกผลแข็ง ผิวผลมีขนสีขาวปกคลุมประปราย ผลโตเต็มที่เป็นสีน้ำตาล

เมล็ด : กลม

กำยาน

การขยายพันธุ์ของต้นกำยาน

เพาะเมล็ด

การดูแลต้นกำยาน

ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้งได้ดี ชอบแดดจัด

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกำยาน

- ยาง ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อ ยาบำรุงหัวใจ แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเชื้อรา แก้อาการคัน เป็นยาสมานแผล แก้โรคชักกะตุกในเด็ก

- ลำต้น แก้ตกขาว

- แก่นหรือเปลือกต้น รักษาโรคไตพิการ

- เปลือกต้น แก้ไข้ ระงับปวด ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงประสาท

- ราก แก้ไข้มาลาเรีย

ความเชื่อของต้นกำยาน

การจุดกำยานถวายในพิธีการเป็นการถวายต่อจิตศักดิ์สิทธิ์ ทั้งพระพุทธเจ้า เทพเจ้า ครูอาจารย์ อีกทั้งยังชำระล้างจิตวิญญาณที่ไม่ดีของพื้นที่และจิตใจของผู้ปฏิบัติทางจิตให้มีความสะอาดบริสุทธิ์

ประโยชน์ของต้นกำยาน

- ยาง ช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุง ไล่ริ้นไร มดและแมลงได้

- เป็นยากันบูด

- ใช้ปรุงน้ำอบไทย เป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ ธูปหอม เครื่องหอมอื่น ๆ และยังใช้ทำเครื่องสำอาง

- ช่วยบำบัดรักษาสุขภาพด้วยกลิ่นหอม ช่วยลดความเครียด ผ่อนคลายความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น

- เนื้อไม้ ใช้ในการสร้างบ้าน และใช้ทำฟืน


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกำยาน (3873)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Styrax benzoides
ชื่อวงศ์:    STYRACACEAE  
ชื่อพื้นเมือง:    เขว้า, ซาดสมิง, เซพอบอ, เส้พ่อบอ, สะด่าน
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ลำต้นเปลา เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีเทา ผิวเรียบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ตามกิ่งบริเวณซอกใบมักพบต่อม มีลักษณะเป็นถุงยาวคล้ายดาบ โคนเชื่อมกัน มีจำนวน 6-12 อัน ขนนุ่มสีน้ำตาลแดง ขนาดกว้าง 1-2 มม. ยาว 3-6 ซม.
    ใบ    ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 8-12 ซม. โคนใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบสีอ่อนออกขาว มีขนประปราย ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบมี 6-8 คู่ เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได เห็นชัดทางท้องใบ ใบแห้งออกสีน้ำตาลแดง ก้านใบยาว 1.5 ซม.
    ดอก    สีขาว ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน ขนาดยาวประมาณ 1 ซม. มีขนตามผิวนอกของกลีบ เกสรผู้สีเหลืองเข้ม
    ฝัก/ผล    กลมหรือแป้น สีเขียวอ่อน หัวและท้ายแบน ขนาดกว้าง 2.5 ซม. ยาว 2 ซม. แข็งมากมีขนคลุมประปราย
    เมล็ด    มี 1-2 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ติดผลเดือนมีนาคม-เมษายน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอก
การใช้ประโยชน์:    - ปลูกเป็นไม้ประดับ
                             - สมุนไพร
                             - ทำธูป ทำกระแจะ หรือเครื่องหอม
แหล่งที่พบ:    พบขึ้นตามป่าดิบเขา ที่ความสูง 600-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
สรรพคุณทางยา:  ยาง ของมันมีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาบำรุงเส้น แก้ลม แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ สมานแผล ดับกลิ่นเน่าเหม็นทุกประเภท เมื่อนำมาผสมกับขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคเชื้อรา น้ำกัดเท้า ทาแผล ใช้เผาไฟเอาควันอบห้องซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุงริ้น