ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกันภัยมหิดล ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นกันภัยมหิดล : Afgekia mahidoliae B.L.Burttet Chermsir.
ลำต้นของต้นกันภัยมหิดล : เป็นไม้เถาเลื้อย มีขนประปรายทั่วต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียว
ใบของต้นกันภัยมหิดล : เป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางมีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นกว่าด้านบน
ดอกของต้นกันภัยมหิดล : ออกเป็นช่อบริเวณปล่ายกิ่งและซอกใบ ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วงอมชมพู ดอกมีขน ทยอยบานจากล่างขึ้นบน ดอกบานเพียงวันเดียว ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผลของต้นกันภัยมหิดล : เป็นฝักแบนยาวรี ปลายมีติ่งแหลม แม่แก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมล็ดของต้นกันภัยมหิดล : ค่อนข้างกลม สีดำ เปลือกเมล็ดแข็ง
การขยายพันธุ์ของต้นกันภัยมหิดล
โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง
การดูแลต้นกันภัยมหิดล
ปลูกได้ในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน หลังฝักแก่กิ่งจะแห้งตาย ควรตัดออกเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ในฤดูถัดไป
ประโยชน์ของต้นกันภัยมหิดล
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นซุ้มไม้เลื้อย
- เถาใช้ทำเชือกรัดของ