ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกะพ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Licuala spinosa Thunb.
ชื่อภาษาอังกฤษ : mangrove fan palm
ชื่ออื่นๆ : พ้อ, กะพ้อหนาม, กะพ้อเขียว
ลำต้น : ลำต้นแตกหน่อเป็นกอแน่น มีรอยกาบใบที่หล่นไป เรือนยอดเป็นรูปพัดหรือคล้ายร่มหรือครึ่งวงกลม
ใบ : เป็นใบประกอบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ กระจุกที่ปลายยอด ช่อใบรูปพัด ใบย่อยเว้าลึกถึงแก่นกลางและแผ่เป็นรัศมี 15-25 แฉก แผ่นแฉกใบพักจีบรูปขอบขนานหรือรูปลิ่ม ปลายแฉกตัดหรือหยิกซิกแซกไม่สม่ำเสมอเส้นใบแบบขนานตามความยาวของใบ ผิวเกลี้ยงผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีซีดกว่า ขอบก้านใบมีหนามโค้งเรียงไม่เป็นระเบียบ ขอบกาบมีรกหรือเส้นใยหยาบสีน้ำตาลสานกันห่อหุ้มลำต้น
ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกตั้งขึ้นโค้งแล้วแผ่ออก ดอกตูมรูปทรงไข่ ไร้ก้านสีขาวแกมเขียวอ่อน
ผล : รูปทรงกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีส้ม ผิวเกลี้ยงเป็นมันสีส้มหรือแดง เนื้อผลชุ่มน้ำผนังผลชั้นในบางและแข็งคล้ายหิน
เมล็ด : กลม
การขยายพันธุ์ของต้นกะพ้อ
เพาะเมล็ด แยกหน่อ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกะพ้อ
- ใบ แก้ท้องร่วง
- ยอด รักษาพิษโรคหนองใน
- หัว แก้อาการปวดศรีษะ
- ราก ใช้เป็นยาต้านพิษ
ประโยชน์ของต้นกะพ้อ
- ยอดอ่อนหรือหัว คั่วหรือปรุงอาหารรับประทาน
- นิยมนำมาจัดเป็นไม้ประดับให้สวยงาม