ค้นหาสินค้า

เตยทะเล

จำหน่ายต้นเตยทะเล กล้าและกิ่งพันธุ์เตยทะเล สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นเตยทะเล

เตยทะเล
เตยทะเล เมืองระยอง ระยอง

ราคา 50.00 บาท /ต้น

เตยทอง เตยด่าง
เตยทอง เตยด่าง นครนายก

ราคา 25.00 บาท /กระถาง

จังหวัดที่ขายต้นเตยทะเล

นครนายก (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นเตยทะเล ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์เตยทะเล

เมล็ดพันธุ์ เตยทะเล
เมล็ดพันธุ์ เตยทะเล เมืองภูเก็ต ภูเก็ต

ราคา 2.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์เตยทะเล

ภูเก็ต (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์เตยทะเล ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเตยทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoratissimus L.f.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Seashore screwpine, Screw Pine

ชื่ออื่นๆ : ลำเจียก, ปะหนัน, ปาแนะ

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง มักแตกแยกออกเป็นสองหรือสามกิ่ง ที่ลำต้นและกิ่งมีหนาม ลำต้นสีขาวน้ำตาลอ่อนๆ มีรากค้ำจุนที่โคนต้น

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกใบถี่อยู่ปลายยอด โคนใบเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น แผ่นใบรูปใบดาบ ขอบใบสองข้างเกือบขนานกัน ขอบใบจะหยักและมีหนามแหลมคม ปลายใบเรียวแหลมโค้ง

ดอก : ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกตามง่ามใบ เรียกว่าลำเจียก ดอกเพศเมียออกที่ปลายยอด เรียกว่าเตยทะเล ใบประดับสีเหลืองอ่อน ดอกอยู่ชิดติดกันเป็นก้อนเอบกลมถึงรูปทรงรี ดอกมีกลิ่นหอม

ผล : กลมรูปรี ผลอ่อนสีขาวอมเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จะเป็นสีส้มหรือแดง ออกดอกตลอดปี

เมล็ด : รูปกระสวย ออกผลตลอดปี

เตยทะเล

การขยายพันธุ์ของต้นเตยทะเล

เพาะเมล็ด แยกต้น แยกหน่อ

การดูแลต้นเตยทะเล

ปลูกได้ในดินทราย ชอบแดดจัด ทนน้ำเค็ม ทนน้ำขังแฉะ

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเตยทะเล

- ราก แก้พิษโลหิต แก้พิษไข้ ขับเสมหะ ขับนิ่ว

- รากอากาศ แก้นิ่ว รักษาหนองใน แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น

- ช่อดอกเพศผู้ ปรุงเป็นยาหอม นาบำรุงหัวใจ

ประโยชน์ของต้นเตยทะเล

- ใบ นำไปสานทำเสื่อ

- เปลือก ใช้ทำเชือก

- ดอก บำรุงหัวใจ และทำเครื่องหอม

- รากค้ำจุน ใช้ขับปัสสาวะ

- ผล รับประทานได้

- ปลูกเป็นไม้ประดับ หรือปลูกเป็นรั้วบ้าน

- ปลูกเพื่อบังลม

- ปลูกคุลมวัชพืช


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยทะเล (3681)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus odoratissimus L.f.
ชื่อวงศ์:  Pandanaceae
ชื่อสามัญ:  Screw Pine
ชื่อพื้นเมือง:  ลำเจียก การะเกด ปะหนัน, ปาแนะ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีรากอากาศงอกออกมาจากลำต้น ลำต้นกลมเป็นข้อถี่ๆ
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับกระจุกอยู่ที่ปลายยอด รูปขอบขนานเรียวยาวผิวเรียบมัน ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นร่องตามยาว ขอบมีหนามแหลมคม ถี่ ๆ ตลอดใบ ใบประดับสีขาวเรียวยาว เป็นกาบหุ้ม
    ดอก  ช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล มีเฉพาะดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอกห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาวมีกลิ่นหอม  ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก สำหรับต้นที่เรียกว่าลำเจียกต้นจะมีเฉพาะดอกตัวผู้ไม่มีกลีบดอกเหมือนกัน
    ฝัก/ผล  ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุก มองดูคล้ายสับปะรดรูปรี เมื่อแก่ผลจะเป็นสีแสด
การปลูก:  ขึ้นตามที่ชุ่มน้ำหรือมีน้ำขัง
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ใบใช้ในการทำสาด (เสื่อ) ใช้ผสมอาหารหรือขนมให้น่ารับประทาน (สีเขียว) และมีกลิ่นหอม
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    รากอากาศ แก้กษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับนิ่ว แก้หนองใน แก้หมาดขาว(ระดูขาว) ขับเสมหะ ราก แก้พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ   
    -    ดอก แก้ลม บำรุงหัวใจ แก้ไข้
    -    ต้น ใช้เป็นยาแก้กษัยน้ำเบาพิการ หรือเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน
    -    ใบ มีรสเย็นสบาย เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น รักษาโรคผิวหนัง โรคหัด


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยหอม (3682)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อวงศ์:  PANDANACEAE
ชื่อสามัญ:  Pandanus
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ  มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
    ดอก  เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
    ฝัก/ผล  ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้
การปลูก:  ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะ หรือที่ดินชื้น
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดรำไร แต่ก็ทนต่อแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  ปักชำลำต้น  หรือกิ่งแขนง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ใบ
การใช้ประโยชน์:
     -    ไม้ประดับ
     -    สมุนไพร
     -    ใช้เป็นภาชนะห่อและใส่เพื่อปรุงกลิ่น อาหาร คาวหวาน  และยังเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกตัดใบออกจำหน่ายเป็นการค้า
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรพคุณทางยา:
     -    ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ
     -    รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน