ค้นหาสินค้า

ส้มโอมือ

จำหน่ายต้นส้มโอมือ กล้าและกิ่งพันธุ์ส้มโอมือ สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นส้มโอมือ

ส้มโอทองดี
ส้มโอทองดี ประจันตคาม ปราจีนบุรี

ราคา 3,500.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นส้มโอมือ

ปราจีนบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นส้มโอมือ ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าส้มโอมือ

ต้นส้มมือ
ต้นส้มมือ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าส้มโอมือ

ปราจีนบุรี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าส้มโอมือ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นส้มโอมือ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus medica L.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Fingered citron, Buddha’s hand, Buddha's fingers

ชื่ออื่นๆ : ส้มมือ, ส้มนิ้ว

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น เนื้อไม้แข็ง และเหนียว เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ตามลำต้นและกิ่งมีหนามสั้นแข็งอยู่ทั่วไป

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่สีเขียวเข้มหลังใบเรียบ ท้องใบสีเขียวอ่อน ส่วนปลายใบและโคนใบมน ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ก้านใบสั้น

ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบและกิ่ง ดอกสีขาว

ผล : เป็นผลเดี่ยว รูปทรงรี ปลายผลเป็นแฉกงอคล้ายนิ้วมือ ผิวขรุขระเป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง มีกลิ่นหอม ไม่มีเนื้อผลและเมล็ด ข้างในผลจะเป็นเหมือนฟองน้ำหนาสีขาว

ส้มโอมือ

การขยายพันธุ์ของต้นส้มโอมือ

ตอนกิ่ง ปักชำ เสียบกิ่ง และการทาบกิ่ง

การดูแลต้นส้มโอมือ

ไม่ชอบแดดจัด

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นส้มโอมือ

- ผล ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ บรรเทาอาการเป็นลม หน้ามืดตาลาย และบำรุงหัวใจ แก้กระเพาะอักเสบ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาหารไม่ย่อย แก้อาการไอ ละลายเสมหะ

- เปลือกผล บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ใช้ปรุงเป็นยาหอม

- น้ำในผล เป็นยาฟอกเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นยากัดเสมหะ

ประโยชน์ของต้นส้มโอมือ

- นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ

- เปลือก ใช้ผสมในอาหาร

- นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาดมส้มโอมือ เครื่องหอม หรือใช้ผสมในน้ำยาทำความสะอาด นิยมนำไปวางไว้ในห้องนอนและห้องน้ำเพื่ออบกลิ่น ดับกลิ่น


สายพันธุ์ส้มโอ (3797)

ส้มโอเป็นไม้ผลเมืองร้อนหรือกึ่งร้อน ที่สามารถเจริญเติบโตดีในประเทศ มีทั้งพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

พันธุ์
ส้มโอมีพันธุ์มากกว่า 30 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่

พันธุ์ขาวทองดี
มีขนาดผลปานกลาง ทรงผลกลมแป้น ไม่มีจุก น้ำหนักผลประมาณ 940-1,060 กรัม เปลือกผลค่อนข้างบาง สีของเปลือกในและผนังกลีบสีชมพูเรื่อๆ ลักษณะนิ่ม ฉ่ำน้ำ จำนวนกลีบ 14-16 กลีบ มีความหวานสูง แหล่งปลูกสำคัญได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี

พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
มีขนาดผลใหญ่ ทรงผลกลมมีจุก น้ำหนักผลประมาณ 1,800 กรัม เปลือกผลหนาประมาณ 2.3 เซนติเมตร เนื้อผลมี 13-15 กลีบ เนื้อกุ้งสีเหลืองอมน้ำตาล รสเปรี้ยวอมหวาน และกรอบ แหล่งปลูกสำคัญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี

พันธุ์ขาวหอม
ขนาดผลปานกลาง ทรงผลกลม น้ำหนักผลประมาณ 800-1,500 กรัม เนื้อผลมี 11-15 กลีบ เนื้อกุ้งสีขาวอมเหลือง ขนาดเล็กเบียดกันแน่น ไม่แฉะน้ำ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ นครปฐมและราชบุรี

พันธุ์ท่าข่อยบุญยงค์พิจิตร
เป็นพันธุ์แนะนำ ของกรมวิชาการเกษตร มีขนาดผลใหญ่น้ำหนักผลประมาณ 1,500-2,100 กรัม ทรงผลกลมสูง ไม่มีจุกเด่นชัด เนื้อผลมี 13 กลีบ/ผล เป็นอย่างน้อย กุ้งมีขนาดใหญ่ สีชมพูเรื่อๆ ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว แหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง เช่นพิจิตร พิษณุโลก


การปลูกและดูแลรักษาส้มโอ (3798)

การปลูก
พื้นที่ดอนที่น้ำไม่ขัง ไม่ต้องยกร่องปรับพื้นที่ให้เรียบ แล้วกำจัดวัชพืช โดยใช้สารเคมีชนิดดูดซึมจะประหยัดกว่าการไถดิน เศษวัชพืชที่ตายยังช่วยคลุมผิวหน้าดินมิให้ถูกชะล้าง ขุดหลุมปลูกขนาด 50*50*50 เซนติเมตร โดยใช้ระนะปดลุกประมาณ 8*8 เมตร เพราะรากจะเจริญลงลึกในแนวดิ่ง
พื้นที่ลุ่ม เตรียมดินโดยขุดเป็นร่อง ใช้สันร่องปลูก สันร่องกว้างประมาณ 6.5 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร คันร่องน้ำกว้าง 70 เซนติเมตร ควรยกร่องขวางทางของแสงอาทิตย์จะทำให้ได้รับแสงสม่ำเสมอ ถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ควรทำคันกั้นน้ำรอบสวน โดยฝังท่อระบายน้ำเข้า-ออกจากสวน ขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะประมาณ 6*6 เมตร

การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอหลังปลุก ควรให้น้ำในตอนเช้าจะดีที่สุด และเมื่อต้นส้มโอใกล้ออกดอก ควรงดน้ำประมาณ 15-30 วัน
การให้ปุ๋ย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 10-25 กก./หลุม และหินฟอสเฟต 0.5-1.0 กก./หลุม คลุกเคล้ากับดินให้ดีก่อนปลูก ในช่วงปีแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กก./ต้น/ปี เมื่อส้มโอมีอายุ 4 ปี เริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 1 กก./ต้น/ปี เพื่อเร่งยอด จากนั้นใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กก./ต้น ก่อนออกดอก 2 เดือน เพื่อการเร่งดอก และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 0.5 กก./ต้น เมื่อติดผลแล้ว 2 เดือน


โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของส้มโอ (3799)

โรคส้มโอ
โรคแคงเกอร์
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย
อาการ จะพบได้ทั้งบนใบ กิ่งและผล ลักษณะแผลค่อนข้างกลม มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ต่อมาแผลจะนูนและขยายใหญ่ขึ้น ถ้าอาการรุนแรงอาจจะพบยางไหลออกมาจากบริเวณแผลได้
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยสารเคมีที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 45-60กรัม/น้ำ 20 ลิตร

โรครากเน่าโคนเน่า
สาเหตุ เชื้อรา ไฟทอฟธอรา
อาการ ใบเหลือง เหี่ยวคล้ายขาดน้ำ รากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะมีสีน้ำตาล เปื่อยยุ่ยและลามไปถึงโคนต้น
การป้องกันกำจัด พื้นที่ปลูกควรมีการจัดการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง การใช้สารเคมีควรใช้สารเมทาแลคซิล หรือ โฟเซททิล อลูมินั่ม ราดหรือทาบริเวณโคนต้นและราก หรือใช้ต้นตอที่ต้านทานโรคนี้ เช่น ส้มโอพล เป็นต้น

โรคทริสเตซ่า
สาเหตุ เชื้อไวรัสทริสเตซ่า
อาการ ใบจะมีอาการด่างเขียวเหมือนเป็นจ้ำ ใบบิดเบี้ยวมีอาการเส้นใบแตก เปลือกผลมีสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ลำต้นจะพบอาการเนื้อไม้เป็นแอ่งบุ๋มหรือหนามเล็กๆ ต้นส้มที่เป็นโรคจะทรุดโทรม ใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กและร่วง ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจทำให้ต้นส้มตายได้
การป้องกันกำจัด
ใช้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงแรงและปลอดโรค กำจัดแมลงที่เป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนส้ม ตัดต้นส้มเป็นโรคทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค

แมลงศัตรูส้มโอ
เพลี้ยไฟ
การระบาดของเพลี้ยไฟ จะทำให้ใบอ่อนไม่พัฒนา ดอกร่วงหล่น ผลอ่อนบิดเบี้ยว ผลที่ถูกทำลายจะปรากฏรอยแผลสีเทาเงินขยายตัวเป็นวงจากบริเวณขั้วลงส่วนล่างของผล ช่วงระบาดรุนแรงจะเกิดในช่วงอากาศแห้งและฝนตกน้อย
การป้องกันกำจัด ใช้คาร์โบซัลแฟน อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ เพอร์มีธริน อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร

หนอนชอนใบ
ทำลายส้มโอในระยะแตกใบอ่อน ตั้งแต่แรกปลูกจนถึงก่อนให้ผลผลิต ตัวหนอนจะชอนเข้าไปกัดกินในระหว่างชั้นของผิวใบและเคลื่อนย้ายภายในใบ ทำให้เกิดโพรงใต้ผิวใบคดเคี้ยวไปมาทั้งหน้าใบและหลังใบ ใบจะบิดเบี้ยวและร่วงหล่น ระบาดมากในช่วงแตกใบอ่อน
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งใบอ่อนที่ถูกหนอนทำลายนำไปเผาไฟ กำจัดวัชพืชซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลง การใช้สารเคมีให้ฉีดพ่นด้วย อิมิดาโคลพริค อัตรา 8-16 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หือ ฟลูเฟนนอกซูรอน อัตรา 6 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร