ลักษณะพฤกษศาสตร์ของสลัดได (3653)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia antiquorum L.
ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ: MALAYAN SPURGE TREE, TRIANGULAR SPURGE
ชื่อพื้นเมือง: สลัดไดป่า(กลาง) กะลำพัก(นครราชสีมา) เคียะผา(เหนือ) เคียะเลี่ยม หงอนงู(แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้อวบน้ำจำพวกตะบองเพชร ต้นเป็นเหลี่ยม สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก มีกิ่งก้านเป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ตามขอบเหลี่ยมมีคลื่นโค้งไปมา ตามโค้งมีหนามแหลมสีดำอยู่คู่กัน ภายในต้นมียางสีขาวและเป็นพิษ
ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กลับ ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย
ดอก ดอกช่อ เหลือง เป็นช่อสั้น
ฝัก/ผล ผลแห้งแตกได้ขนาดเล็ก มี 3 พู
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: แก่นแก่มักจะเกิดแก่นแข็ง เรียกกะลำพัก มีกลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: เอเซียเขตร้อน
แหล่งที่พบ: ขึ้นอยู่ตามที่แห้งแล้ง บนก้อนหิน หรือบนภูเขา
ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ: MALAYAN SPURGE TREE, TRIANGULAR SPURGE
ชื่อพื้นเมือง: สลัดไดป่า(กลาง) กะลำพัก(นครราชสีมา) เคียะผา(เหนือ) เคียะเลี่ยม หงอนงู(แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้อวบน้ำจำพวกตะบองเพชร ต้นเป็นเหลี่ยม สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก มีกิ่งก้านเป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ตามขอบเหลี่ยมมีคลื่นโค้งไปมา ตามโค้งมีหนามแหลมสีดำอยู่คู่กัน ภายในต้นมียางสีขาวและเป็นพิษ
ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กลับ ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย
ดอก ดอกช่อ เหลือง เป็นช่อสั้น
ฝัก/ผล ผลแห้งแตกได้ขนาดเล็ก มี 3 พู
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: แก่นแก่มักจะเกิดแก่นแข็ง เรียกกะลำพัก มีกลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: เอเซียเขตร้อน
แหล่งที่พบ: ขึ้นอยู่ตามที่แห้งแล้ง บนก้อนหิน หรือบนภูเขา