ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมะยม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (L.) Skeel
ชื่อภาษาอังกฤษ : Gooseberry Tree, Star Gooseberry
ชื่ออื่นๆ : หมักยม, หมากยม, ยม
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง ลำต้นสีเทาปนน้ำตาล ผิวลำต้นขรุขระ แกตกกิ่งก้านบริเวณปลายยอด กิ่งเปราะหักง่าย
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม
ดอก : ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและลำต้น ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกสีเหลืองอ่อน ออกดอกตลอดทั้งปี
ผล : ผลสดกลมแบนหยักเว้าเป็นพู 5 – 6 พู ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่มีสีเหลืองอ่อนและมีรสเปรี้ยว เนื้อฉ่ำน้ำ
เมล็ด : แข็งมีหนึ่งเมล็ด เมล็ดกลม สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นมะยม
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การดูแลต้นมะยม
ปลูกได้ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้งและทนน้ำท่วม เจริญเติบโตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมะยม
- ราก รสจืด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ
- เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
- ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
- ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
- ใบ แก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท
ความเชื่อของต้นมะยม
นิยมปลูกหน้าบ้านหรือทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อว่าจะมีแต่คนนิยมชมชอบตามชื่อและช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ
ประโยชน์ของต้นมะยม
- รับประทานผลสด ผลแห้ง การแช่อิ่ม
- ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก