ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมะม่วงหิมพานต์ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cashew nut tree, Acajou, Maranon
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงลังกา, มะม่วงเล็ดล่อ, มะม่วงสิงหล
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ลำต้นทรงกลม ตั้งตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาล มีกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่โดยรอบ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีเหลืองและเหนียว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง ใบแก่สีเขียวสด ยอดอ่อนสีของใบจะเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน
ดอก : ออกเป็นช่อตรงซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล : คล้ายชมพู่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองหรือสีแดงเรื่อ เรียกว่าผลปลอม ติดผลตลอดทั้งปี
เมล็ด : รูปไต อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้
การขยายพันธุ์ของต้นมะม่วงหิมพานต์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง การติดตา การเสียบยอด
การดูแลต้นมะม่วงหิมพานต์
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำน้อย ชอบแดดเต็มวัน ทนดินเค็ม ทนแล้ง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมะม่วงหิมพานต์
- ยางจากผลสด และต้น รักษาหูด
- เมล็ด แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน
- ยางจากค้น แก้เลือดออกตามไรฟัน ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต
- ยอดอ่อน ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ท้องร่วง
- ใบแก่บดใส่แผลไฟไหม้
- ใบสดนำมาเผาไฟ สูดดมควันเพื่อรักษาอาการไอ เจ็บคอ
ประโยชน์ขะงตินมะม่วงหิมพานต์
- ปลูกประดับเพื่อให้ร่มเงา
- ยอดอ่อนกินเป็นผักสด
- ผลสุก สีแดงกินเป็นผลไม้จิ้มกับเกลือมีรสเปรี้ยวอมหวาน
- เมล็ดมะม่วงหิมพานต์นำมาบริโภค