ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพญากาสัก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea macrophylla
ชื่อภาษาอังกฤษ : Hathikana
ชื่ออื่นๆ : เขืองหูช้าง, ตองต้วบ, แคะมูรา, ตองสาก, ตาลปัตรฤาษี พญารากหล่อ, ผึ่งหูข้าง, เสือนั่งร่ม
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม รากขนาดใหญ่ อ้วนคล้ายมันสำปะหลัง ลำต้นสีเขียวมีข้อชัดเจน ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้ลัก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ นูนตามเส้นใบ เนื้อใบหยาบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีหูใบแผ่เป็นแผ่นเห็นได้ชัดเจน
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีเขียวอ่อนแกมขาว
ผล : เป็นผลสด รูปร่างค่อนข้างกลมแป้น เมื่อแก่สีดำ
เมล็ด : ขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ของต้นพญากาสัก
เพาะเมล็ด ใช้หัว
การดูแลต้นพญากาสัก
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพญากาสัก
ราก รักษากามโรค แผลฝี หนองใน
ความเชื่อของต้นพญากาสัก
คนโบราณใช้ใบว่านปูรองเด็กนอนตลอดจนกว่าจะโตเริ่มทานอาหารได้ แล้วนำใบนั้นมาป่นให้ละเอียดผสมอาหารให้เด็กกินจนหมด ว่ากันว่าเด็กคนนั้นจะเกิดเป็นคงกระพัน
ประโยชน์ของต้นพญากาสัก
- ใช้เป็นไม้ประดับ
- หัวว่านนำมาเป็นส่วนผสมพระเครื่องชนิดคงกะพัน