ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นผักเสี้ยนผี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome viscosa L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Stining cleome, Wild caia, yellow cleome, tickweed
ชื่ออื่นๆ : ผักส้มเสี้ยนผี, ผักเสี้ยนตัวเมีย, ไปนิพพานไม่รู้กลับ
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ส่วนต่างๆ มีต่อมขนเหนียว กิ่งก้านแผ่รอบต้น
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปรี ปลายและโคนแหลม มีขนอ่อนปกคลุม
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง
ผล : เป็นฝัก กลมยาว ปลายแหลมมีจะงอยที่ปลายผล ผิวหยาบ ผลสดสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล ขนสีขาวนวลปกคลุมทั่วทั้งผล
เมล็ด : ทรงกลมแบน เมล็ดอ่อนสีเขียวอ่อน เมล็ดแก่สีน้ำตาลแดง ผิวหยาบ มีกลิ่นเหม็น รสขม

การขยายพันธุ์ของต้นผักเสี้ยนผี
เพาะเมล็ด
การดูแลผักเสี้ยนผี
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน เจริญเติบโตเร็ว
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักเสี้ยนผี
- ต้น แก้ฝีในหอด ขับหนองในร่างกาย แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ รักษาโรคข้ออักเสบ
- ใบ แก้ปวดหลัง แก้ปัสสาวะพิการ ขับลม แก้ปวดหัว
- ราก แก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตร แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นยากระตุ้นหัวใจ แก้ปวด เป็นยาชาเฉพาะที่
- เมล็ด แก้น้ำเหลืองเสีย กระตุ้นหัวใจ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้การหูอื้อ คันหู
- ดอก ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าพยาธิ
ประโยชน์ของต้นผักเสี้ยนผี
- ยอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน นำมาดองเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใช้เป็นเครื่องเคียงในขนมจีน
- เมล็ดมีน้ำมัน สามารถรับประทานได้