ลักษณะพฤกษศาสตร์ของน้ำเต้าต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของน้ำเต้าต้น : Crescentia cujete Linn.
ชื่อภาษาอังกฤษของน้ำเต้าต้น : Calabash tree, Wild Calabush
ชื่ออื่นๆ ของน้ำเต้าต้น : น้ำเต้าญี่ปุ่น
ลักษณะลำต้นของน้ำเต้าต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านแผ่ตามแนวราบ รูปทรงกิ่งมีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม รูปทรงพุ่มไม่ค่อยแน่นอน เรือนยอดโปร่งทรงกลม ปลายกิ่งห้อยลง
ลักษณะใบของน้ำเต้าต้น : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายมน โคนสอบ ขอบเรียบ ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ไม่มีก้านใบ มีใบประดับขนาดเล็กรูปร่างคล้ายใบออกที่โคนใบจำนวน 2 ใบ อยู่ตามข้อกิ่ง
ลักษณะดอกของน้ำเต้าต้น : เป็นดอกเดี่ยวออกบริเวณลำต้นและกิ่ง ดอกจะห้อยหัวลงดอกเป็นรูปปากแตรมีกลิ่นเหม็นหืน ดอกสีสีเขียวอมเหลืองและมีลายริ้วสีม่วง ร่วงง่าย ออกดอกตลอดปี
ลักษณะผลของน้ำเต้าต้น : เป็นผลสดทรงกลมขนาดใหญ่ ผิวผลแข็งเรียบ เกลี้ยง เปลือกแข็งหนา ผลมีสีเขียวสด เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว ภายในผลมีเนื้อ
ลักษณะเมล็ดของน้ำเต้าต้น : กลมแบน สีปลายเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ ขอบเว้า เมล็ดสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นน้ำเต้าต้น
เพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
การดูแลต้นน้ำเต้าต้น
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นน้ำเต้าต้น
- ใบ พอกแก้ปวดศีรษะ แก้อาการฟกช้ำ
- ผล ช่วยระบาย ขับเสมหะ แก้บิด ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้โรคหืด
- เปลือกต้น แก้อาการท้องเดิน ล้างบาดแผล
ประโยชน์ของต้นน้ำเต้าต้น
- ปลูกเป็นไม้ประดับสวนและสนามที่ต้องการความอ่อนหวาน
- เมล็ด นำมาทำให้สุกทำเครื่องดื่ม
- เปลือกผล นำมาทำเป็นภาชนะได้
- ลำต้น นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน