ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหญ้าแฝก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty
ชื่ออื่นๆ : แฝก, แฝกหอม, แฝกลุ่ม, แกงหอม, แคมหอม
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกกอที่แน่นหนา มีรากฝอยหยั่งลึกในดินได้ถึง 4 เมตร รากมีกลิ่นหอม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายสอบแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อยถี่ แหลมคม มีมากบริเวณโคนใบ แผ่นใบเรียบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีเขียวจางกว่า ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก : ออกเป็นช่อ ตามปล้องสุดท้ายของลำต้น ช่อดอกสีน้ำตาลแดง สีน้ำตาล สีเทา หรือสีขาวนวล ออกดอกตลอดปี
ผล : เป็นผลแห้งที่ไม่แตก
เมล็ด : รูปทรงคล้ายกระสวย มีส่วนหัวและท้ายที่มน ผิวเรียบ และเปลือกบาง เ
การขยายพันธุ์ของต้นหญ้าแฝก
แยกหน่อ ปักชำ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การดูแลต้นหญ้าแฝก
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปริมาณน้อย ชอบแสงแดดมาก
ประโยชน์ของต้นหญ้าแฝก
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ลดการชะล้างพังทลายของดิน ช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน
- ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น
- เพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน
- ใบ นำมามุงหลังคาและทำงานหัตถกรรม
- เป็นอาหารสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ด้วยปริมาณโปรตีนและวิตามินที่ดี หญ้าแฝกจึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสัตว์ปีก เช่น ไก่ และเป็ด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ รวมถึงสัตว์น้ำ เช่น ปลาคาร์ฟ และปลาตะเพียน
- ช่วยในการป้องกันโรคทางเดินอาหารในสัตว์