ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นแจง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maerua siamensis (Kurz) Pax
ชื่ออื่นๆ : แกง, แจ้ง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นสีเทาดำ เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแตกกิ่งแผ่ออกเป็นรูปร่ม หนาทึบ แตกกิ่งแขนงมากมาย
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 2-5 ใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปแถบ แผ่นใบเรียบหนาแข็ง เขียวเข้ม ขอบใบเรียบ ปลายใบตัดเว้าเล็กน้อย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีเขียวอมขาว ดอกไม่มีกลียดอก
ผล : เป็นรูปรี หรือกลม มีเนื้อ ผิวขรุขระ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
เมล็ด : รูปไต
การขยายพันธุ์ของต้นแจง
การเพาะเมล็ดหรือวิธีการตอนกิ่ง
การดูแลต้นแจง
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด โตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นแจง
- ราก บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ปัสสาวะพิการ
- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง ไข้มาลาเรีย
- ใบ และยอด ตำโขลก ใช้สีฟันทำให้ฟันทน
- ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดหลัง บำรุงธาตุ
- ยอดอ่อน นำมาต้ม ล้างหน้าแก้ตาฝ้าฟาง
- แก่น แก้ไข้ตัวร้อน
ประโยชน์ของต้นแจง
- ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกสด ใช้ดอง รับประทานร่วมกับน้ำพริก มีรสขมเล็กน้อย
- เนื้อไม้นำมาเผาถ่าน ให้ถ่านคุณภาพดี
- นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากทรงพุ่มค่อนข้างสวย