ค้นหาสินค้า

หนวดปลาดุก

ขายหนวดปลาดุก พันธุ์หนวดปลาดุก สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นหนวดปลาดุก

ต้นหนวดปลาดุก
ต้นหนวดปลาดุก องครักษ์ นครนายก

ราคา 3.00 บาท /ต้น

ต้นหนวดปลาดุกแคระ
ต้นหนวดปลาดุกแคระ องครักษ์ นครนายก

ราคา 4.00 บาท /ต้น

หนวดปลาดุก
หนวดปลาดุก หนองจอก กรุงเทพมหานคร

ราคา 7.00 บาท /บาท

หญ้าหนวดปลาดุกแคระ
หญ้าหนวดปลาดุกแคระ บางกรวย นนทบุรี

ราคา 12.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นหนวดปลาดุก

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

นครนายก (2 ร้าน)

นนทบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นหนวดปลาดุก ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหนวดปลาดุก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ophiopogon japonicus (Thunb.) Ker Gawl.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Snake’s bread

ชื่ออื่นๆ : Fountain Plant, Mondo Grass, Monkey Grass, Snake’s Beard

ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าสั้นมีไหลใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเป็นกอแน่นคล้ายหญ้า

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปเรียวยาว ปลายแหลม ขอบเรียบ อ่อนโค้งลงมาเป็นพุ่ม สีเขียวเข้ม

ดอก : ออกเป็นช่อ ดอกสีขาวถึงสีเหลืองนวล

หนวดปลาดุก

การขยายพันธุ์ของต้นหนวดปลาดุก

แยกกอ

การดูแลต้นหนวดปลาดุก

ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร เจริญเติบโตเร็ว

ประโยชน์ของต้นหนวดปลาดุก

ปลูกแทนหญ้า


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของหนวดปลาดุกแคระ (3767)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ophiopogon japonicus
ชื่อวงศ์:  Liliaceae
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้คลุมดิน ลำต้นสั้น แตกใบขึ้นเป็นพุ่ม
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับแน่น  ใบรูปแถบ  เป็นเส้นเล็กๆ   กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร  ยาว 4-7 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม  โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน  เมื่อใบ ยาวเต็มที่แล้วจะห้อยโค้งลงเล็กน้อย
    ดอก  สีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบจากกอ ดอกขนาดเล็ก
    ฝัก/ผล  ผลสด มีเนื้อ มีเมล็ดจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ฤดูร้อน
การดูแลรักษา:  ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบแสงรำไร
การขยายพันธุ์:  การปักชำ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ เหมาะกับการปลูกแทรกตามก้อนหินหรือพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ไว้ด้านหน้าก็เหมาะ เพราะต้นค่อนข้างเตี้ยกว่าต้นไม้อื่นๆ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของหนวดปลาหมึก (3768)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Schefflera actinophylla
ชื่อวงศ์:  ARALIACEAE
ชื่อสามัญ:  Umbrella tree, Octopus   tree
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม
    ใบ  ใบประกอบรูปฝ่ามือ เรียงสลับ  มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบที่จุดเดียวกัน 7-11 ใบ   ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มผิวเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อน
    ดอก  สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
    ฝัก/ผล  ผลสด มีเมล็ดเดียว แข็ง สีดำ
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม - พฤษภาคม
การดูแลรักษา:  ไม่ชอบแสงแดด  เจริญงอกงามได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำมากและความชื้นสูง
การขยายพันธุ์:  การตัดชำ, การเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  รัฐควีนส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย


วิํธีทำปลาดุกร้า (3730)

ส่วนประกอบที่สำคัญของปลาดุกร้า

1. เกลือควรเป็นเกลือเมล็ดใหญ่ 1 กิโลกรัม

2. น้ำตาลทราย 8 ขีด

3. ปลาดุก 10 กิโลกรัม ควรจะเป็นปลาที่อายุประมาณ 4 เดือน และเป็นปลาที่สดใช้วิธีทุบหัวให้ตาย ถ้าใช้วิธีน็อคให้ตายในบ่อจะทำไม่ให้เลือดขังอยู่ในตัว จะมีกลิ่นคาว

วิธีทำ

1. ปลาดุกขูดเมือกตัดหัว ผ่าท้องเอาไส้ออก ล้างสะอาด นำไปผึ่งแดด พอหนังปลาแห้งพักไว้

2. ผสมเกลือกับน้ำตาลให้เข้ากัน นำคลุกกับปลาดุกให้ทั่ว ใส่อ่างเคลือบ ปิดฝาหมักไว้ 1 คืน

3. นำปลาไปตากแดด 3 วัน และหมั่นกลับปลาบ่อยๆ จนปลาหอม

หรือ บางสูตรก็ใช้วิธีตำเกลือและน้ำตาลผสมกัน เสร็จแล้วใส่ในพุงปลา เรียงเป็นชั้นๆ โรยเกลือและน้ำตาลระหว่างชั้นให้ทั่วถึง หมักไว้ 3 คืน เอาออกมาตากแดด 3 แดด