ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นละมุดสีดา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara kauki (L.) Dubard
ชื่อภาษาอังกฤษ : caqui
ชื่ออื่นๆ : ละมุดไทย
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง พุ่มใบแน่นทึบ แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา
ใบ : รูปหอกแคบ หรือรูปหอกแกมรูปไข่กลับ แตกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ผิวใบด้านหน้าสีเขียวเข้มหลังใบสีเทาเงิน ปลายใบสอบเรียว บางทีมน โคนใบสอบ เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวกระจุกออกตามปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกสีขาว
ผล : รูปกลมรี ลักษณะคล้ายผลพิกุล แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกหรือแก่จะเป็นสีแดงสดใส หรือสีแดงคล้ำ เวลาติดผลดกและผลสุกพร้อมๆกันทั้งต้น จะดูสวยงามแพรวพราวมาก เนื้อในเมื่อสุกเป็นสีเหลืองปนส้ม รับประทานได้ แต่ต้องรับประทานตอนที่ผลสุกงอมเป็นสีดำ รสชาติหวานปนฝาดเล็กน้อย มีกลิ่นหอม
เมล็ด : ขนาดใหญ่สีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นละมุดสีดา
โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง และเสียบยอด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นละมุดสีดา
- เปลือกต้น แก้ท้องเสีย อาบแก้โรคผิวหนังพวกผื่นคัน
- เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาขับพยาธิ ยาต้านโรคเรื้อน
- ใบและผล ใช้เป็นตัวยาผสมในตำรับยารักษาโรคโลหิตจาง
- รากและเหลือก แก้เด็กท้องเสีย
ประโยชน์ของต้นละมุดสีดา
- ผล รับประทานได้เนื้อหวาน และสามารถแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์ได้ด้วย
- ลำต้น นิยมนำมาทำเป็นเสาเรือน พื้นบ้าน ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ และนำไปทำถ่านได้ด้วย
- ยาง ใช้ผลิตเป็นรองเท้าบูท