ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นพุดซ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia augusta (L.) Merr.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cape jasmine, Gardenia jasmine
ชื่ออื่นๆ : พุดจีน, พุดใหญ่, อินถะหวา, เค็ดถวา
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ ทรงกลมหนาทึบ ลำต้นเรียว เปลือกเรียบ ผิวสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก : ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวมีหลายชั้น ออกตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมแรงตอนเย็นถึงเช้า
ผล : ผลสด รูปไข่ถึงรูปแกมรูปขอบขนาน ผลแก่สีเหลืองส้ม เปลือกผลมีเหลี่ยมตามยาว
เมล็ด : มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดจะมีเนื้อเยื่อหุ้มเป็นสีแดง
การขยายพันธุ์ของต้นพุดซ้อน
เพาะเมล็ด ปักชำ หรือตอนกิ่ง
การดูแลต้นพุดซ้อน
ปลูกได้ในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นพุดซ้อน
- ราก สามารถแก้ไข้ แก้ท้องอืด สมานบาดแผล แก้ผื่นคันตามผิวหนัง แก้ฝีหนองอักเสบ แก้อาการปวดบวม
- เปลือก สามารถแก้บิด แก้ไข้
- ใบ สามารถแก้อาการปวดหัวหรือเคล็ดขัดยอก
- ดอก สามารถทำน้ำมันหอมระเหยหรือทาแก้โรคผิวหนัง
- ผล สามารถขับปัสสาวะและพยาธิ แก้อาการนอนไม้หลับ แก้ตาอักเสบ แก้เลือดกำเดา แก้อาการเหงือกบวม แก้อาเจียนเป็นเลือด
ความเชื่อของต้นพุดซ้อน
หากปลูกติดไว้ที่บ้าน จะช่วยให้มีความเจริญ มั่นคง เนื่องจากคำว่า พุด หมายถึง ความสมบูรณ์ แข็งแรง ยิ่งไปกว่านั้นยังสื่อถึงความบริสุทธิ์ เนื่องจากดอกพุดซ้อนมีสีขาวสะอาดและบานใหญ่ โดยเคล็ดมงคลเกี่ยวกับต้นพุดหรือพุดซ้อน แนะนำให้ปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่สำคัญควรปลูกในวันเสาร์และให้ผู้ชายเป็นคนปลูก
ประโยชน์ของต้นพุดซ้อน
- นิยมปลูกประดับบ้าน ประดับสวน
- ดอก นำไปร้อยเป็นพวงมาลัยบูชาพระ และใช้เป็นดอกไม้ปักแจกันไหว้พระ
- เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม
- ดอก ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำธูป ทำกรอบรูป และทำหัวน้ำหอม