ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นผักเฮือด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ความเชื่อ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus lacor Buch.
ชื่ออื่นๆ : ผักเฮียก, ผักฮี้
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เปลือกต้นบางและเรียบ ผิวเปลือกออกสีเทาขาวนวล มีรากอากาศแบบต้นไทร แต่ไม่มากนัก มียางสีขาวทั้งต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่และรูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบหนาและมัน ยอดอ่อนม้วนเป็นแท่ง รูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม ใบอ่อนสีแดง ใบอ่อนแลดูใสแวววาวไปทั้ง
ดอก : ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามลำต้นและกิ่ง ดอกสีขาว
ผล : กลม ผลอ่อนสีเขียวอ่อนออกขาว ผสสุกสีชมพูแดงม่วงหรือดำ
การขยายพันธุ์ของต้นผักเฮือด
เพาะเมล็ด และปักชำ
การดูแลต้นผักเฮือด
เจริญเติบโตเร็ว มีระบบรากที่แข็งแรงมาก ควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้าน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักเฮือด
- เปลือกต้น แก้ปวดท้อง ล้างแผลเปื่อย รักษาสิว ล้างแผลติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลันที่เข้าสู่ผิวหนัง และระบบน้ำเหลือง ใช้กลั้วคอระงับน้ำลายไหลมาก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการตกขาว
- ผลสุกที่สด หรือแห้ง รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
- ใบ ใช้รักษาโรคกำเดาไหลไม่หยุด รักษาอาการปวดเส้นเอ็น ปวดตา ปวดหัว แก้คัน แก้ปวดไขข้อ แขนขาปวด และอ่อนล้า แก้หวัด แก้ไข้ แก้แพ้อากาศ ป้องกันโรคเหน็บชา บำรุงผิวพรรณ ขจัดริ้วรอยจุดด่างดำที่ผิวหนัง แก้ท้องผูก ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
ความเชื่อของต้นผักเฮือด
เป็นไม้มงคลมหาโชค ที่ปลูกแล้วจะนำมาซึ่งความร่มเย็น และประสพสุขสดใสในชีวิต ได้ประสบพบวาสนา ลาภยศ สรรเสริญ บารมี ความสำเร็จ และโชคลาภ ที่พึงปรารถนา
ประโยชน์ของต้นผักเฮือด
- นำมาเป็นไม้หลักจัดสวนหย่อม ให้ร่มเงาและให้บรรยากาศร่มเย็น
- ยอดและใบอ่อน นำไปประกอบอาหาร มีรสฝาด มัน เปรี้ยว หรือใช้เป็นผักจิ้มกินสด
- ใบ นำมาต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง
- เนื้อไม้ ทำด้ามจอบ เสียม
- ยาง ใช้ดักนก
- ผล เป็นอาหารของสัตว์