ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปีบ (3602)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Millingtonia hortensis L.f.
ชื่อวงศ์: Bignoniaceae
ชื่อสามัญ: Indian cork tree
ชื่อพื้นเมือง: กาซะลอง กาดซะลอง เต็กตองโพ่
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อเเขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนจะมีชน
ดอก สีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่และยาว 10-35 เซนติเมตร มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 เซนติเมตร
ฝัก/ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัว ท้ายแหลม กว้าง 1.5-2.3 เซนติเมตร ยาว 25-30 เซนติเมตร
เมล็ด เมล็ดแบนมีปีกบางจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก: กันยายน – พฤศจิกายน บานเวลาเย็น
การปลูก: ปลูกประดับสวน ให้ร่มเงา ลานจอดรถ ริมถนน
การดูแลรักษา: ทนแล้ง ไม่ทนน้ำท่วมขัง
การขยายพันธุ์: เมล็ด ตอนกิ่งหรือนำรากมาตัดเป็นท่อนๆแล้วนำมาชำในกระบะทรายที่ผสมขี้เถ้าแกลบ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกสวยมีกลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- สมุนไพร
- เนื้อไม้มีสีเหลืองนิยมนำมาทำเครื่องเรือนประดับบ้าน
- เปลือกทำจุกก๊อร์คขนาดเล็ก
- บริโภค
แหล่งที่พบ: ป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนที่ใช้บริโภค: ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร: ยอดอ่อนลวกรับประทานกับป่นหรือแจ่ว
สรรพคุณทางยา:
- ดอกแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด พบว่าในดอกมีสาร hispidulin ที่ระเหยได้และมีฤทธิ์ในการขยาย หลอดลมรักษาอาการหอบหืด สูบแก้ริดสีดวงจมูก มีรสหวานขมหอม บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ลม
- รากสดหรือตากแห้งมาต้มเอาน้ำดื่มบำรุงปอดแก้วัณโรคหรือปอดพิการ แก้อาการเหนื่อยหอบได้ดี
ชื่อวงศ์: Bignoniaceae
ชื่อสามัญ: Indian cork tree
ชื่อพื้นเมือง: กาซะลอง กาดซะลอง เต็กตองโพ่
ลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อเเขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนจะมีชน
ดอก สีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่และยาว 10-35 เซนติเมตร มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 เซนติเมตร
ฝัก/ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัว ท้ายแหลม กว้าง 1.5-2.3 เซนติเมตร ยาว 25-30 เซนติเมตร
เมล็ด เมล็ดแบนมีปีกบางจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก: กันยายน – พฤศจิกายน บานเวลาเย็น
การปลูก: ปลูกประดับสวน ให้ร่มเงา ลานจอดรถ ริมถนน
การดูแลรักษา: ทนแล้ง ไม่ทนน้ำท่วมขัง
การขยายพันธุ์: เมล็ด ตอนกิ่งหรือนำรากมาตัดเป็นท่อนๆแล้วนำมาชำในกระบะทรายที่ผสมขี้เถ้าแกลบ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกสวยมีกลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- สมุนไพร
- เนื้อไม้มีสีเหลืองนิยมนำมาทำเครื่องเรือนประดับบ้าน
- เปลือกทำจุกก๊อร์คขนาดเล็ก
- บริโภค
แหล่งที่พบ: ป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนที่ใช้บริโภค: ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร: ยอดอ่อนลวกรับประทานกับป่นหรือแจ่ว
สรรพคุณทางยา:
- ดอกแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด พบว่าในดอกมีสาร hispidulin ที่ระเหยได้และมีฤทธิ์ในการขยาย หลอดลมรักษาอาการหอบหืด สูบแก้ริดสีดวงจมูก มีรสหวานขมหอม บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ลม
- รากสดหรือตากแห้งมาต้มเอาน้ำดื่มบำรุงปอดแก้วัณโรคหรือปอดพิการ แก้อาการเหนื่อยหอบได้ดี