ค้นหาสินค้า

ปาล์ม

ขายต้นปาล์มราคาถูก ประดับบ้าน ต้นไม้ทำรั้ว และบังแดดให้ร่มเงา ปาล์มต้นเล็กต้นใหญ่ ปลูกในกระถาง วิธีดูแล

ต้นปาล์ม

ต้นปาล์มยะวา
ต้นปาล์มยะวา บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 2,000.00 บาท /ต้น

ต้นปาล์มพัดจีบ
ต้นปาล์มพัดจีบ เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 280.00 บาท /กระถาง

ปาล์มไผ่
ปาล์มไผ่ องครักษ์ นครนายก

ราคา 500.00 บาท /ต้น

ปาล์มศรีสยาม 2ม.
ปาล์มศรีสยาม 2ม. เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 2,500.00 บาท /กอ

ปาล์มแคระ
ปาล์มแคระ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

ราคา 150.00 บาท /บาท

ปาล์มตอกใบใหญ่
ปาล์มตอกใบใหญ่ สุไหงโกลก นราธิวาส

ราคา 599.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นปาล์ม

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

นครนายก (1 ร้าน)

นราธิวาส (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (2 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นปาล์ม ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์ปาล์ม

หมีกระโปรง
หมีกระโปรง นครนายก

ราคา 25,000.00 บาท

เมล็ดค้อออสเตรเลีย (Livistona Australis)
เมล็ดค้อออสเตรเลีย (Livistona Australis) เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 2.00 บาท /เมล็ด

dictyosperma album var. conjugatum ปาล์มเจ้าหญิงใบติด
dictyosperma album var. conjugatum ปาล์มเจ้าหญิงใบติด เมืองลำปาง ลำปาง

ราคา 650.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ปาล์ม

ตรัง (1 ร้าน)

นครนายก (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ลำปาง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ปาล์ม ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าปาล์ม

ปาล์มเจ้าเมืองถลาง
ปาล์มเจ้าเมืองถลาง สุไหงโกลก นราธิวาส

ราคา 150.00 บาท /ต้น

จำหน่ายอาซาอี เบอร์รี่ (Acai Berry)  #ต้นละ550บาท
จำหน่ายอาซาอี เบอร์รี่ (Acai Berry) #ต้นละ550บาท บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 550.00 บาท /ต้น?

ปาล์มไผ่
ปาล์มไผ่ ธัญบุรี ปทุมธานี

ราคา 650.00 บาท /ต้น

ต้นลูกชิด มะต๋าว หรือ ต๋าว พร้อมปลูกในถุงดำ
ต้นลูกชิด มะต๋าว หรือ ต๋าว พร้อมปลูกในถุงดำ เวียงชัย เชียงราย

ราคา 49.00 บาท /ต้น

อาซาอิ เบอรี่
อาซาอิ เบอรี่ เมืองระยอง ระยอง

ราคา 150.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าปาล์ม

เชียงราย (1 ร้าน)

นราธิวาส (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

สมุทรปราการ (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าปาล์ม ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นปาล์มเจ้าหญิง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นปาล์มเจ้าหญิง : Dictyosperma album (Bory) H.Wendl. & Drude ex Scheff.

ชื่อภาษาอังกฤษของต้นปาล์มเจ้าหญิง : Hurricane Palm, Princess Palm

ลักษณะลำต้นของต้นปาล์มเจ้าหญิง : เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นจะบวมเล็กน้อยที่โคน รอบลำต้นเป็นรอยแผลจากใบ ลำต้นสีเทา

ลักษณะใบของต้นปาล์มเจ้าหญิง : เป็นใบประกอบแบบขนนก ทางใบยาว ใบสีเขียวเข้มเหลือบเงิน บางต้นจะมีเส้นรยางค์เชื่อมติดกันระหว่างปลายใบฝอย

ลักษณะดอกของต้นปาล์มเจ้าหญิง : ออกเป็นช่อแผ่กระจายใต้คอ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้น

ลักษณะผลของต้นปาล์มเจ้าหญิง : รูปรี เมื่อสุกมีสีม่วงอมดำ

ลักษณะเมล็ดของต้นปาล์มเจ้าหญิง : สีน้ำตาล

ปาล์ม

การขยายพันธุ์ของต้นปาล์มเจ้าหญิง

โดยการเพาะเมล็ด

การดูแลต้นปาล์มเจ้าหญิง

ปลูกได้ในดินร่วน ชอบแดดรำไร เจริญเติบโตช้า

ประโยชน์ของต้นปาล์มเจ้าหญิง

ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงแปลง


ลักษณะพฤกษศาสตร์ต้นอะไซอิเบอร์รี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร และประโยชน์ของต้นอะไซอิเบอร์รี่

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นอะไซอิเบอร์รี่

ต้นอะไซอิเบอร์รี่
ต้นอะไซอิเบอร์รี่

  1. ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euterpe oleracea Mart.
  2. ชื่อภาษาอังกฤษ : acai
  3. ลำต้น : เป็นพืชตระกูลปาล์ม ลำต้นทรงกระบอกสีน้ำตาลเทา ที่ลำต้นมีรอยวงแหวนเป็นระยะๆ
  4. ใบ : เป็นใบประกอบอยู่บริเวณด้านบนของลำต้น
  5. ดอก : ขนาดเล็กสีม่วงน้ำตาล
  6. ผล : เมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่ ผลดิบมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม

การขยายพันธุ์ของต้นอะไซอิเบอร์รี่

โดยการเพาะเมล็ด

เมล็ดอะไซอิเบอร์รี่
เมล็ดอะไซอิเบอร์รี่

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นอะไซอิเบอร์รี่

อะไซอิเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก มีวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการหลายชนิด ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานให้กับร่างกายได้ ช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ความสดชื่น ลดความเมื่อยล้า

ประโยชน์ของต้นอะไซอิเบอร์รี่

ผลอะไซอิเบอร์รี่ สามารถนำมาทำเครื่องดื่มและของหวานได้หลากหลายชนิด ปัจจุบันมีการนำมาทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง เช่น ครีม โลชั่น เจล

ผลอะไซอิเบอร์รี่
ผลอะไซอิเบอร์รี่

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของแชมเปญปาล์ม (3676)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Mascarena lagenicaulis
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Bottle palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลำต้นป่องตรงกลางคล้ายโอ่ง หรือขวดเตี้ยๆ ลำต้นโตประมาณ 30 - 40 ซ.ม. รอยกาบที่ลำต้นสั้น
    ใบ  เป็นแบบขนนก ใบย่อยเป็นรูปตัววีคว่ำ ขอบใบมีสีน้ำตาลเล็กน้อย
    ดอก  ช่อดอกออกตามข้อของลำต้น สีขาว ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
    ฝัก/ผล  ออกเป็นทะลาย ทะลายยาวประมาณ 30 ซ.ม. ขนาดผลรูปลูกรักบี้ โตประมาณ 1 - 1.5 ซ.ม. ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด งอกได้ต้นเดียว สีของผลเมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่สีจะเขียวเข้ม เมื่อสุกผิวจะนิ่ม เปลือกข้างในเป็นสีดำและแข็งคล้ายกะลามะพร้าว
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตช้า ชอบแสงแดดจัด ดินระบายน้ำดี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ประมาณ 3 เดือนจึงงอก
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ผลสุกกลิ่นหอมเหมือนกล้วยหอม
ถิ่นกำเนิด:  เกาะมาสคารีน

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์ม (3703)

ชื่อวงศ์:  Palmae หรือ Arecacae
ชื่อสามัญ:  palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ
ข้อหรือวงแหวนรอบลำต้นนั้น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของปาล์มทีเดียว ซึ่งเกิดจากการร่วงหลุดของก้านใบนั่นเอง บางชนิดเมื่อร่วงแล้วลำต้นเกลี้ยง บางชนิดแม้ใบจะเหี่ยว แต่ก้านใบก็ไม่หลุดเสียเลยทีเดียว
    ใบ  ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะในของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ
    • ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง
    • ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) กล่าวกันว่า ชื่อของปาล์ม (palm) ก็มาจากลักษณะที่คล้ายกับฝ่ามือ (palm) นั่นเอง ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไป ติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น
    ดอก  จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่นหอม ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็ก และแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออก จะได้น้ำหวาน  ปาล์มส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นระยะเรื่อยไปตลอดอายุขัย แต่มีปาล์มบางชนิดออกดอกครั้งเดียวเท่านั้น ทว่ากว่าจะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป เนื่องจากใช้อาหารที่สะสมในลำต้นจนหมด
    ฝัก/ผล  ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่  ลักษณะผลของปาล์มส่วนใหญ่มีความคล้ายกัน บางชนิดก็มีผลเล็กมาก ออกเป็นช่อ เป็นทะลายเช่นเดียวกับหมากและมะพร้าว ส่วนเปลือกของผลระกำและสละนั้นบางมาก เปลือกนอกของปาล์มหลายชนิดเป็นเส้นใยเกาะตัวหนาแน่น ผลปาล์มส่วนใหญ่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง หลายชนิดมีเปลือกนอกที่เบา มีเส้นใยเกาะหนา ลอยน้ำได้ บางชนิดมีเปลือกบาง เป็นอาหารของสัตว์ป่า เมื่อคายหรือขับถ่ายเมล็ดออก ก็จะงอกงามได้ต่อไป
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มเคราฤาษี (3704)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Coccothrinix Crinita
ชื่อสามัญ:  Old man palm, mat palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มต้นเดี่ยว เจริญเติบโตช้ามาก ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร ไม่ค่อยพบในสภาพป่าธรรมชาติ จึงเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้พบเห็น โดยเฉพาะนักสะสมปาล์มเพราะมีลักษณะพิเศษ คือมีเส้นใยสีน้ำตาลหรือสีทอง ปกคลุมลำต้นติดแน่น คล้ายกับผู้ชายที่มีหนวดเครารุงรัง จึงเรียกว่า เคราฤาษี ลำต้นสูงได้ถึง 10 เมตร
    ใบ  ก้านใบยาว 1 เมตร และมีหนามเล็กๆ ใบรูปพัดแผ่นใบกลม กว้าง 1 เมตร จักเว้าลึกเกือบถึงสะดือ
การปลูก:  ปลูกในบริเวณบ้าน รีสอร์ท และ สนามกอล์ฟ
การดูแลรักษา:  เป็นไม้ที่เติบโตเร็วและชอบแดด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศคิวบา

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มเป็ตติโค้ท (3706)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Washingtonia robusta
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Washington Palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ต้นสูงประมาณ 50 ฟุต ใหญ่ราวๆ 3 ฟุต
    ใบ  ใบรูปพัดสีเขียวอ่อน ก้านใบสีน้ำตาลแดงยาว 1 เมตร ช่วงความสูง ประมาณ 1-2 เมตร กาบและก้านใบจะแห้งติดอยู่กับลำต้นหนาประมาณ40 ซม. และเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นกว่า 5 เมตร กาบและก้านใบจะหลุดร่วงไป เมื่อต้นยังเล็กๆ ตามขอบจะมีเส้น ใบเป็นฝอยสีเทาอยู่มากจึงเรียกว่า ปาล์มหนวด
    ดอก  ออกดอกรอบๆ ต้นตามโดนใบ ช่อจะยาวประมาร 12 ฟุต
    ฝัก/ผล  เป็นพวง เหมือนกับช่อดอก มีผลดกมาก
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกา ตอนเหนือเม็กซิโก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มอ้ายหมี (3707)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Copernicia macroglossa
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Cuban Petticoat Palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ทีเจริญเติบโตช้ามาก ลำต้นขนาด 30-40 เซนติเมตร สูงได้ถึง 10 เมตร
    ใบ  ใบรูปพัดแผ่กลาง มีจักเว้าลึก ไม่มีก้านใบ กาบใบแผ่คลุมรอบคอ ใบแห้งติดแน่นที่ลำต้นจะหลุดร่วงเอง เมื่อลำต้นสูงมากกว่า 5 เมตร
    ดอก  ช่อดอกโค้งเรียวยาว 2.50 เมตร
    ฝัก/ผล  ผลกลมขนาด 1.5 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบที่มีแสงแดด  ดินร่วนปนทราย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ดประมาณ 2 เดือนจึงเริ่มงอก
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  คิวบา


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มคอแดง (3708)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Neodypsis lastelliana darienite
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Dypsis leptocheilos
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  คอแดงสูงจากโคนต้นถึงคอวีตั้งแต่ 2.50 - 4.00 เมตร ลักษณะลำต้นเป็นข้อ
    ใบ  มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มจีน (3709)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Livistona chinensis ( Jacq.) R. Br. ex Mart.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Chinese   fan   palm
ชื่อพื้นเมือง:  ปาล์มเซี่ยงไฮ้
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มต้นเดี่ยว  สูงประมาณ 10 เมตร  ต้นโต 2-3 เมตร  ลำต้นเห็นข้อปล้องชัด  ตั้งตรง  ไม่มีหน่อ ไม่มีกอ ลำต้นมีสีน้ำตาล
    ใบ  รูปพัด ขนาด 1-2 เมตร  สีเขียวแก่  ก้านใบทั้ง 2 ข้างมีหนามแหลม สีชมพูอ่อนๆ ใบย่อยเป็นใบแฉกลึก ปลายใบย่อยแหลมและมีเส้นใยเล็กๆเป็นเส้นฝอยๆ
    ดอก  ออกระหว่างกาบใบเป็นทางยาว สีเหลืองอ่อน
    ฝัก/ผล  กลม  ผลแก่สีดำคล้ำ เป็นพวงใหญ่  ผลคล้ายเมล็ดบัว
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงตลอดวัน ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    หมู่เกาะฟิลิปปินส์ใช้ปาล์มจีนทำหมวก
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มแวกซ์ (3710)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Copernicia prunifera (Mill.) H.E.  Moore
ชื่อวงศ์:  Palmae
ชื่อสามัญ:  Carnauba, Wax palm, Caranda palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 10-40 เซนติเมตร ลำต้นมีกาบใบติดแน่น  มี 2 พันธุ์คือ ปาล์มแวกซ์ผอม และปาล์มแวกซ์อ้วน
    ใบ  ใบเดี่ยว รูปค่อนช้างกลมคล้ายพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวมีนวลขาวเด่นชัด แตกใบย่อยจักเว้าลึกเกือบถึงสะดือ ก้านใบหนายาวประมาณ1 เมตร มีหนามเเข็งตามขอบก้านใบ
    ดอก  สีขาวนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 2 เมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว  ทรงกลมรี ขนาด 1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  บราซิล  


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มเต่ารั้ง (3711)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm,Tufted Fishtail Palm
ชื่อพื้นเมือง:  เขืองหมู่ (ภาคเหนือ) เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง) เต่ารังแดง (นครศรีธรรมราช) มะเด็ง (ยะลา)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มชนิดแตกกอ สูง 3-12 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-15 ซม. มีลักษณะกลมเป็นปล้อง กาบใบมีใยคล้ายตาข่ายหุ้มลำต้น
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเวียนสลับ กว้าง 100-150 ซม. ยาว 150-27ซม ใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยมและกว้าง 8-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. สีเขียวสดและมัน แต่ตรงใต้ใบเป็นสีเขียว
    ดอก  สีขาวครีม ออกเป็นช่อ ตามลำต้น ยาวประมาณ 2-3 ฟุต จะออกที่ละยอด
    ฝัก/ผล  ค่อนข้างกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. เมื่อยังอ้อนจะเป็นสีเขียว แต่พอผลแก่จะเป็นสีแดงอมดำ ตามผิวของผลนั้นจะมีขนละเอียด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   
แหล่งที่พบ:  เกิดตามป่าดงดิบ ริมแม่น้ำลำธาร ป่าแล้งโดยทั่วไป
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ยอดอ่อน แกงหรือต้มเป็นอาหาร
สรรพคุณทางยา:  ราก,หัว ดับพิษตับปอด แก้กาฬขึ้นปวด แก้หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน
ความมงคล:  ต้นไม้ที่คนไทยเชื่อกันว่าจะส่งผลที่ไม่ดีแก่ผู้ปลูกนั้น มักจะมีชื่อที่ค่อนไปในทางที่ไม่ดีนัก ถือว่าเป็นอัปมงคลนาม เชื่อ กันวาหากสามีภรรยาคู่ใด ปลูกต้นเต่าร้างเอาไว้ในบ้าน ก็อาจจะต้องเลิกราหย่าร้างกันไปก็เป็นได้ เพราะชื่อเต่าร้างนั้น ก็แสดงไปในความหมาย ของ การเลิกร้าง-ร้างรา หรือหย่าร้างอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่เหมาะที่จะปลูกต้นไม้ชนิดนี้ ไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อครอบครัวของคุณคุณ จะได้มีแต่ความสงบสุขตลอดไป


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มจีบ (3712)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Licuala grandis H.Wendl.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Fan Plam
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มลำต้นเดี่ยวสูง 2 เมตร ต้นเกลี้ยง เรียว ตั้งตรง
    ใบ  เป็นก้านยาวรูปพัด ยาว 1 เมตร เดี่ยว  สีเขียวอ่อนเป็นมัน ใต้ใบสีเงินอ่อน เป็นรูปพัด รูปใบกลม มีจีบตามความยาวของใบ ขอบใบมีแฉกตื้นๆ  มีหนามที่ก้านใกล้โคนกาบใบ
    ดอก  เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเป็นช่อสีขาว ออกระหว่างกาบใบ ก้านช่อยาว  1 เมตร  กลุ่มช่อดอกออกเป็นระยะๆ
    ฝัก/ผล  ผลเล็กขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา กลมสีแดงส้มปนแสด เวลาอ่อนสีเขียวสดเวลาแก่จะมีสีแดง
    เมล็ด  15-20 เมล็ด
การดูแลรักษา:  ชอบที่ร่ม ไม่แฉะ
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศออสเตรเลียทางหมู่เกาะตอนเหนือ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มไผ่ (3713)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Chamaedorea erumpeus  H.E.Moore
ชื่อวงศ์:  ARECACEAE
ชื่อสามัญ:  Bamboo palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มแตกหน่อ มีกอ ลำต้นขนาดเล็กเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน มีสีเขียวเป็นมันเหมือนลำต้นไผ่ลำต้นสูงประมาณ 5-6 ฟุต
    ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ มีสีเขียว และเป็นมัน ใบเรียวแหลม ทรงอวบ เหนียว ทางใบยาวประมาณ 2 ฟุต
    ดอก  ออกเป็นช่อ ช่อดอกจะแซมออกตามข้อปล้องของลำต้นตรงส่วนยอด ๆ
    ฝัก/ผล  มีสีเขียว พอแก่จะแตกเป็นสีม่วงดำ ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่เมล็ดเดียว
    เมล็ด  ขนาดเมล็ดเท่าถั่วลันเตา
การปลูก:  ปลูกประดับไว้ตามริมหน้าต่างข้างประตู
การดูแลรักษา:  ไม่ต้องการแสงแดดมากปลูกได้ในที่แดดรำไรเพียงครึ่งวัน แต่ต้องการน้ำพอสมควร
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อหรือเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    ก้านและใบของมันมาใช้ประโยชน์ในการจัดดอกไม้และตกแต่งห้อง
ถิ่นกำเนิด:  เม็กซิโกและอเมริกาใต้
*ปาล์มไผ่นี้มีความสามารถในการคายความชื้นสูง และดูดสารพิษจำพวกเบนซิน ไตรคลอไรเอททาริน ฟอร์มาดิไฮด์ ได้ดี


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มหมีเทา (3714)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Copernicia hospita
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Hospita Palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เมื่ออายุน้อยจะคล้ายกับปาล์มหงส์เหิร จะดูแตกต่างไปจากปาล์มหงส์เหิเนื่องจากเป็นปาล์มขนาดเล็ก
    ใบ  ใบรูปมือคล้ายปาล์มหงส์เหิร จัดเรียงรอบต้นอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบไม่บิดเอียงเหมือนปาล์มหงส์เหิร แต่จะทิ้งตัวลงมาเหมือนดอกไม้บาน เสน่ห์ที่โดดเด่นที่สุดอยู่ที่สีของใบ ซึ่งจะออกเป็นสีค่อนข้างขาว ออกเงินๆ สวยงามมาก บางคนเรียกชื่อว่า หมีเทา
การดูแลรักษา:  ชอบดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุเยอะๆ ชอบแดดจัด เต็มวัน
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  คิวบา


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มสิบสองปันนา (3715)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Phoenix roebelenii O Brain ex C. Robelen
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มในสกุลอินทผลัม  ต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลูกผสม  สูงประมาณ 2 เมตร  ตอนยอดมีกาบ
    ใบ  ติดคลุมลำต้น ใบรูปขนนก ทางใบโค้งลง  ตอนโคนใบเป็นหนามแหลม  สีเขียวอ่อนใบสีเขียวแก่ เป็นมัน ใต้ใบสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายมีผงแป้งคลุมอยู่
    ดอก  ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด  ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น  ดอกเล็กๆ   สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด
    ฝัก/ผล  กลมรี  เล็กๆ  ขนาดเมล็ดถั่วแดง  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ
    เมล็ด  กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ มีสีแดงปนดำผลอ่อนหรือเมล็ดอ่อนมีสีขาว ขนาดยาว 1.2 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบแดดตลอดวัน  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด  และแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีนและทางภาคเหนือของไทย
แหล่งที่พบ:  ตามป่าดิบชั้นและเป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากพม่าและอินเดีย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มสามทาง (3717)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Dypsis decaryi
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มลำต้นเดี่ยว  ไม่แตกกอ ลำต้นกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-40 ซม. สูงได้ถึง 15 เมตร ส่วนคอมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
    ใบ  เป็นแบบขนนก  เป็นใบพัดจีบ  ก้านทางเรียวไม่มีหนาม  ใบต้นหนึ่ง ๆ มีประมาณ 20 ใบ ใบมีสีเขียวอ่อน  เป็นมัน ทางใบยาวประมาณ 2.5 เมตร เวียนรอบลำต้นเป็นสามทาง
    ดอก  ช่อดอกออกระหว่างโคนก้านทางใบ  ดอกมีจำนวนมาก  สีเหลืองอมน้ำตาล ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
    ฝัก/ผล  ผลกลมสีดำ ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ประมาณ 1 เดือนจึงงอก
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มชะวา (3729)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Livistona rotundifolia (Lam.) Mart.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Anahaw palm, Java palm
ชื่อพื้นเมือง:  ยะวา,ปาล์มตาล (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มต้นเดี่ยว  สูงประมาณ 15 เมตร  เห็นข้อต้นปล้องถี่ๆได้ชัด  สีน้ำตาล เรียบ ต้นเล็กขนาด 3 เมตร มีกาบใบแห้งๆติดกับต้น  เมื่อต้นโตสูงขึ้นจะหลุดไปหมด  ทำให้เห็นต้นสีน้ำตาล มีข้อปล้องแห้งๆ ติดกับต้น  เมื่อต้นโตสูงมากจะเห็นข้อปล้อง
    ใบ  เป็นใบพัดกว้างประมาณ 1 เมตร  ใบย่อยเป็นแฉกลึก  ก้านใบเล็ก ยาวประมาณ 1.50 เมตร มีหนามเล็กๆ ตามขอบก้านใบ ใบสีเขียวแก่ เป็นมัน
    ดอก  สีครีม เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 2เมตร
    ฝัก/ผล  กลม  ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลแก่สุกสีแดงสะดุดตา  ผลโตขนาด 2 ซม.
การดูแลรักษา:  ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แดดเต็มวัน
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  มาเลเชีย
แหล่งที่พบ:  มีอยู่ทุกภาคในประเทศไทย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มขวด (3731)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Roystonea regia (H.B.K.) Cook.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Royal palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มต้นเดี่ยว   ไม่มีหน่อ  ต้นตั้งตรงสูง  เมื่อมีอายุน้อยๆ ลำต้นป่องโตออกที่โคนคล้ายขวด  เมื่อโตขึ้นจะหายไปแต่จะป่องที่กลางต้น  สูงได้ถึงประมาณ 20 เมตร
    ใบ  ยาว 3-5 เมตร  ใบย่อยงอกจากแกนกลางทางใบเป็น 4 แถว  ทำมุมต่างๆกัน  ทางใบมีกาบใบใหญ่ห่อหุ้มลำต้นไว้คล้ายกาบหมาก  กาบใบสีเขียวเป็นมัน
    ดอก  ช่อดอกสีขาวนวล  เป็นแบบจั่นหมากอยู่ในกาบทางใบ  จั่นโตยาว เมื่อแก่จะแตกเป็นแขนง และมีดอกเล็กๆจำนวนมาก
    ฝัก/ผล  กลม เล็ก  ขนาดไม่เกิน 2 ซม. ผลแก่สีม่วงแก่เกือบดำ
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  การเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  คิวบา
*ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ ประจำชาติของประเทศคิวบา