ลักษณะพฤกษศาสตร์ของประทัดทอง (3831)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrosolen avenis
ชื่อวงศ์: LORANTHACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: กาฝากทอง
ลักษณะทั่วไป:
ต้น พืชเบียนประเภทไม้พุ่มเกาะอาศัยตามกิ่งของไม้ต้น กิ่งก้านค่อนข้างเปราะ หักง่าย
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปใบหอก โคนสอบมน ปลายแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 2.0-4.5 ซม. ยาว 8-12 ซม. เนื้อใบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบมีคราบขาว
ดอก ออกเป็นช่อตั้ง สีแดงแกมส้มที่ซอกใบ ก้านช่อยาว 1 ซม. ดอกย่อยมี 3-7 ดอก กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเขียว ยาว 5 มม. ปลายเรียบ กลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 ซม. ส่วนกลางป่อง ส่วนปลายเป็นก้อนสีขาวนวลแกมเหลือง เมื่อดอกแก่ปลายเปิดแยกเป็น 5 แฉก และพับกลับ เกสรผู้ จำนวน 5 อัน อับเรณูสีเหลืองสด
ผล รูปรี ยาว 1.5 ซม. มีหมวกครอบที่ขั้วผล
ฤดูกาลออกดอก: พฤศจิกายน-มกราคม
ถิ่นกำเนิด: จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหมู่เกาะสุมาตรา
แหล่งที่พบ: ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ของไทย ในป่าดิบเขาที่โปร่ง และชายป่าดงดิบบนภูเขา
ชื่อวงศ์: LORANTHACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: กาฝากทอง
ลักษณะทั่วไป:
ต้น พืชเบียนประเภทไม้พุ่มเกาะอาศัยตามกิ่งของไม้ต้น กิ่งก้านค่อนข้างเปราะ หักง่าย
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปใบหอก โคนสอบมน ปลายแหลม ขอบใบเรียบ กว้าง 2.0-4.5 ซม. ยาว 8-12 ซม. เนื้อใบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบมีคราบขาว
ดอก ออกเป็นช่อตั้ง สีแดงแกมส้มที่ซอกใบ ก้านช่อยาว 1 ซม. ดอกย่อยมี 3-7 ดอก กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเขียว ยาว 5 มม. ปลายเรียบ กลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 ซม. ส่วนกลางป่อง ส่วนปลายเป็นก้อนสีขาวนวลแกมเหลือง เมื่อดอกแก่ปลายเปิดแยกเป็น 5 แฉก และพับกลับ เกสรผู้ จำนวน 5 อัน อับเรณูสีเหลืองสด
ผล รูปรี ยาว 1.5 ซม. มีหมวกครอบที่ขั้วผล
ฤดูกาลออกดอก: พฤศจิกายน-มกราคม
ถิ่นกำเนิด: จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหมู่เกาะสุมาตรา
แหล่งที่พบ: ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ของไทย ในป่าดิบเขาที่โปร่ง และชายป่าดงดิบบนภูเขา