ลักษณะพฤกษศาสตร์ของนมสวรรค์ (3581)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clerodendrum paniculatum Linn.
ชื่อวงศ์: VERBENACEAE
ชื่อพื้นเมือง: พนมสวรรค์ ฉัตรฟ้า
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำต้นตรงเป็นเหลี่ยมเป็นข้อๆ ไม่มีกิ่งแต่มีก้านใบ
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบสีเขียวแกมดำ รูปค่อนข้างกลม โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบใบ เว้า 3-5 แฉก และมีจัก ด้านล่างมีขนสาก
ดอก ดอกช่อ ดอกเล็กๆ ออกเป็นชั้นๆ เหมือนฉัตรฐานดอกมีก้านดอกประกอบยาว ยอดดอกมีก้านดอกประกอบสั้น เมื่อมองด้านบนเป็นทรงกลม ดอกมีสองชนิด ชนิดแดงอมส้มเรียกว่า นมสวรรค์ตัวเมีย และดอกสีขาวเรียกว่านมสวรรค์ตัวผู้ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเป็นหลอดยาว 1.5-2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 4 อัน ยาวโค้งพ้นปากหลอด
ฝัก/ผล ผลเป็นผลประกอบ เป็นชั้นคล้ายฉัตร ก้านผลยาวเรียงเป็นฉัตรคล้ายรูปทรงดอก ผลมีขนาดเล็กกลม สีเขียว กลีบรองผลสีแดงหรือสีขาวตามชนิดของสีดอก
ฤดูกาลออกดอก: ฤดูฝน
การดูแลรักษา: ชอบดินร่วนปนทราย น้ำที่มีปริมาณมาก และความชื้นสูง แดดรำไร เจริญได้ดีภายใต้ร่มไม้ใหญ่
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง สับราก
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- บริโภค
- สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: จีน มาเลเซียและฟิลิปปินส์
แหล่งที่พบ: ตามชายป่าเมืองไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค: ยอดอ่อน ใบเพสลาด
การปรุงอาหาร: ยอดอ่อน ใบเพสลาด กลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย นำมาปรุงอาหารกลิ่นจะหายไปโดยหั่นฝอย ใส่กะทิ รองกระทงห่อหมกมีรสชาดหวานร้อน
สรรพคุณทางยา:
- ราก ใช้เป็นยาถ่าย
- ใบสด ตำเป็นยารักษาโรคปวดข้อและปวดประสาท แก้ทรวงอกอักเสบ พอกแก้ไข่ดันบวม พอกแก้ลูกหนู ใต้รักแร้บวม
- ราก ดอกและลำต้น แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฝีภายใน
ชื่อวงศ์: VERBENACEAE
ชื่อพื้นเมือง: พนมสวรรค์ ฉัตรฟ้า
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำต้นตรงเป็นเหลี่ยมเป็นข้อๆ ไม่มีกิ่งแต่มีก้านใบ
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบสีเขียวแกมดำ รูปค่อนข้างกลม โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบใบ เว้า 3-5 แฉก และมีจัก ด้านล่างมีขนสาก
ดอก ดอกช่อ ดอกเล็กๆ ออกเป็นชั้นๆ เหมือนฉัตรฐานดอกมีก้านดอกประกอบยาว ยอดดอกมีก้านดอกประกอบสั้น เมื่อมองด้านบนเป็นทรงกลม ดอกมีสองชนิด ชนิดแดงอมส้มเรียกว่า นมสวรรค์ตัวเมีย และดอกสีขาวเรียกว่านมสวรรค์ตัวผู้ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเป็นหลอดยาว 1.5-2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 4 อัน ยาวโค้งพ้นปากหลอด
ฝัก/ผล ผลเป็นผลประกอบ เป็นชั้นคล้ายฉัตร ก้านผลยาวเรียงเป็นฉัตรคล้ายรูปทรงดอก ผลมีขนาดเล็กกลม สีเขียว กลีบรองผลสีแดงหรือสีขาวตามชนิดของสีดอก
ฤดูกาลออกดอก: ฤดูฝน
การดูแลรักษา: ชอบดินร่วนปนทราย น้ำที่มีปริมาณมาก และความชื้นสูง แดดรำไร เจริญได้ดีภายใต้ร่มไม้ใหญ่
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง สับราก
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- บริโภค
- สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: จีน มาเลเซียและฟิลิปปินส์
แหล่งที่พบ: ตามชายป่าเมืองไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค: ยอดอ่อน ใบเพสลาด
การปรุงอาหาร: ยอดอ่อน ใบเพสลาด กลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย นำมาปรุงอาหารกลิ่นจะหายไปโดยหั่นฝอย ใส่กะทิ รองกระทงห่อหมกมีรสชาดหวานร้อน
สรรพคุณทางยา:
- ราก ใช้เป็นยาถ่าย
- ใบสด ตำเป็นยารักษาโรคปวดข้อและปวดประสาท แก้ทรวงอกอักเสบ พอกแก้ไข่ดันบวม พอกแก้ลูกหนู ใต้รักแร้บวม
- ราก ดอกและลำต้น แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฝีภายใน