ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นดอกทานตะวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Sunflower
ชื่ออื่นๆ : ชอนตะวัน, บัวทอง
ลำต้น : เป็นไม้ล้มลุก อายุสั้น ลำต้นกลวงตั้งตรง มีทั้งพันธุ์ต้นเตี้ยและต้นสูง มีขนสาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนป้านหรือรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย ใบสีเขียว มีขนสาก ก้านใบเป็นร่องตื้น สีเขียวอมแดง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ออกที่ปลายยอด มีทั้งดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ดอกสีเหลือง ตรงกลางดอกคือช่อดอก ลักษณะเป็นจาน มีดอกเล็กจำนวนมาก
ผล : แห้งรูปรี แบนนูน ด้านหนึ่งมน อีกด้านหนึ่งแหลม เปลือกแข็ง สีดำหรือสีเทาเข้มมีแถบสีขาวนวล
เมล็ด : มีเมล็ดเดียว รูปรียาว
การขยายพันธุ์ของต้นดอกทานตะวัน
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นดอกทานตะวัน
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตรวดเร็ว
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นดอกทานตะวัน
- ราก เป็นยาแก้ระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ และแก้อาการฟกช้ำ ปวดท้องแน่นหน้าอก
- เปลือกเมล็ด ใช้เป็นยารักษาอาการหูอื้อ
- เมล็ด ลดไขมันในเส้นโลหิต เป็นยากแก้หวัด แก้ไอ ขจัดเสมหะ ขับปปัสสาวะ ขับหนองใน แก้โรคบิด และแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
- ใบ แก้โรคเบาหวาน และโรคหอบหืด
- ดอก แก้หลอดลมอักเสบ แก้วิงเวียนศีรษะ ขับลม บีบมดลูก ทำให้ตาสดใส และรักษาใบหน้าตึงบวม
- ฐานรองดอก แก้อาการปวดรอบเดือน ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดฟัน ปวดโรคกระเพาะอักเสบ แก้อาการปวดบวมฝี
- แกนลำต้น แก้โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ ไอกรน
ประโยชน์ของต้นดอกทานตะวัน
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางหรือปลูกลงแปลง
- ปลูกเป็นไม้ตัดดอก
- เมล็ดใช้สกัดน้ำมัน