ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นชิงชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia oliveri Prain
ชื่อภาษาอังกฤษ : Blackwood, Rosewood
ชื่ออื่นๆ : ประดู่ชิงชัน, ดู่สะแดน, เก็ดแดง, อีเม็ง, พยุงแกลบ, กะซิก, กะซิบ, หมากพลูตั๊กแตน
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง โปร่ง เปลือกต้นสีเทา เป็นเกล็ดบางๆ เปลือกด้านในสีเหลือง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่ถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายมน โคนกลมมน ขอบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีซีดกว่า ยอดและใบอ่อนออกสีแดง
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมม่วง
ผล : เป็นฝักแบน แผ่เป็นปีกยาวรูปรีหรือรูปขอบขนาน ผิวเรียบ ส่วนที่หุ้มเมล็ดหนาแข็ง มีลักษณะเป็นกระเปาะกลมหรือแกนรีเล็กน้อย นูนเห็ดได้ชัด
เมล็ด : รูปไตสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของต้นชิงชัน
เพาะเมล็ด
การดูแลต้นชิงชัน
ปลูกได้ในดินทั่วไป ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นชิงชัน
- แก่น บำรุงโลหิตสตรี
- เปลือก ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง
ประโยชน์ของต้นชิงชัน
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เนื้อไม้ ใช้แปรรูปทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี ด้ามเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ได้สวยงามและทนทาน