ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นชมนาด ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vallaris glabra (L.) Kuntze
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bread flower
ชื่ออื่นๆ : ชำมะนาด, ดอกข้าวใหม่, ดอกขาวใหม่, อ้มส้าย
ลำต้น : เป็นไม้เลื้อย เนื้อค่อนข้างแข็ง มีน้ำยางสีขาว เปลือกมีร่องแตก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบบาง
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือสีครีมอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : ผลอ่อนรูปกรวยหรือดอกบัวตูม ปลายแหลม เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 พู โคนติดกัน รูปร่างคล้ายเขาวัว มองดูเหมือนเป็นฝัก 2 ฝัก ภายในผลมีเนื้อนุ่ม เมื่อแก่จัดจะแห้งและแตกออกตามแนวร่องผล
เมล็ด : มีเมล็ดหลายเมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็ก มีขนปุยที่ปลายช่วยให้ปลิวไปตามลม
การขยายพันธุ์ของต้นชมนาด
เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
การดูแลต้นชมนาด
ปลูกได้ในดินดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตช้า
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นชมนาด
ยาง ใช้ใส่แผลสดสมานแผลและห้ามเลือด
ประโยชน์ของต้นชมนาด
- นิยมปลูกประดับซุ้มหรือข้างรั้ว
- ดอก นิยมนำดอกใช้อบน้ำทำข้าวแช่ ใช้อบแป้งร่ำ หรือทำเครื่องหอม มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย