ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นคิ้วนาง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia winitii Craib
ชื่ออื่นๆ : อรพิม
ลำต้นของต้นคิ้วนาง : เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ทรงพุ่มแน่น มีมือเกาะพันเป็นเส้นยาว ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงที่กิ่งก้าน หูใบขนาดเล็กร่วงง่าย เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล
ดอกของต้นคิ้วนาง : ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง ดอกสีเหลืองครีม ดอกมีกลิ่นหอม
ผลของต้นคิ้วนาง : แบบฝักถั่ว สีน้ำตาล แบนเกลี้ยง
ใบของต้นคิ้วนาง : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง เส้นใบสีขาว ใบอ่อนสีชมพู เมื่อแก่สีเขียว
เมล็ดของต้นคิ้วนาง : แบนเกลี้ยง
การขยายพันธุ์ของต้นคิ้วนาง
โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
การดูแลต้นคิ้วนาง
ปลูกได้ในดินร่วนซุยระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ไม่ชอบน้ำขัง การเจริญเติบโตปานกลาง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นคิ้วนาง
เปลือก แก้ท้องเสีย
ประโยชน์ของต้นคิ้วนาง
- ปลูกประดับทำซุ้มไม้เลื้อย
- เปลือกไม้ ใช้เคี้ยวกับหมาก
- เส้นใยจากเปลือกไม้ ใช้ทำเชือก