ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นคนทีเขมา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex negundo L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Chinese Chaste Tree, Indian privet, Negundo chest nut
ชื่ออื่นๆ : กุโนกามอ, กูนิง
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีสีเทา มีขนปกคลุม กิ่งและใบมีกลิ่นหอม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปหอกแคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีขาว และมีขนอ่อนปกคลุม
ดอก : ออกเป็นช่อจากซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาวแกมม่วงอ่อน หอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี
ผล : รูปทรงกลม ผลสด มีสีน้ำตาล เปลือกแข็ง
การขยายพันธุ์ของต้นคนทีเขมา
เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง
การดูแลต้นคนทีเขมา
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน เจริญเติบโตปานกลาง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นคนทีเขมา
- รากและใบ ใช้แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อตามกล้ามเนื้อ
- ช่อดอก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ แก้ท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- น้ำมันหอมระเหยจากใบ ลดอาการปวด
- กิ่ง แก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้เจ็บคอ ปวดข้อ ปวดฟัน
- ใบ แก้กลากเกลื้อน แก้ฝี แก้เชื้อราที่เท้า รักษาอาการปวดศีรษะ
- ผล ใช้ขับเสมหะ แก้หอบหืด แก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้เหน็บชา
- เปลือก แก้ริดสีดวง
- ยาง ฆ่าพยาธิผิวหนัง
ประโยชน์ของต้นคนทีเขมา
นิยมปลูกประดับสวน