วิธีการทำก้อนจุลินทรีย์หรือก้อนอีเอ็ม (EM ball) บำบัดน้ำเสีย (3924)
ส่วนที่ 1 เตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์
หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เน้นสำหรับบำบัดน้ำเสีย (ขั้นตอนนี้สามารถใช้น้ำหมักชีวิภาพที่หมักกันที่บ้าน หรือใช้ น้ำ EM ที่ทำขายแทนก็ได้) สามารถทำให้โดย
1.ใช้ดินธรรมชาติ ดินบริสุทธิ์ (ดินที่มีลักษณะของเส้นใยของเชื้อราสีขาวๆ ซึ่งสามารถพบได้ในบริเวณที่มีใบไม้แห้งใบไม้ผุกองทัดถมกัน) หรือเอาเปลือกผลไม้สุก เช่น เปลือกสับปะรด แหล่งของจุลินทรีย์
2.นำวัสดุในข้อแรก นำมาใส่ถังเตรียมไว้สำหรับหมัก เติมน้ำให้พอท่วมวัสดุ
3.เติมน้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ในปริมาณ หรือ อัตราส่วน 1:1 คือวัสดุหนักเท่าไหร่ เติมน้ำตาลหรือกากน้ำตาลหนักเท่านั้น
4.ผสมให้น้ำตาล หรือกากน้ำตาลละลาย ปิดปากถังหมักด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ (เพราะสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนอากาศได้ดี จุลินทรีย์ต้องการใช้อากาศในการเพิ่มจำนวน)
5.หมักไปสักประมาณ 1 สัปดาห์ (เป็นระยะเวลาที่จุลินทรีย์มีจำนวนสูงที่สุด)
6.กรองเอาน้ำหมักใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์
สำหรับในขั้นตอนนี้ ถ้าใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ทางการค้า หรือซื้อมาให้นำมาเติมน้ำตาลในอัตราส่วน จุลินทรีย์ 1 ลิตร ใช้น้ำตาล หรือกากน้ำตาลประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วหมักไว้สัก 2-7 วัน เพื่อกระตุ้นจุลินทรีย์ ก่อนนำมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์
ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการทำก้อนจุลินทรีย์ (EM ball)
วัตถุดิบที่ใช้ คือ
1.ดินธรรมชาติ ดินเลน หรือขี้เถ้าแกลบ
2.รำข้าว
3.หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ที่เตรียมได้ในขั้นตอนที่ 1)
4.น้ำตาลหรือกากน้ำตาล
ขั้นตอนต่อไป คือ
1.นำเอาดินธรรมชาติ หรือขี้เถ้าแกลบมาผสมให้เข้ากันกับ รำข้าว ในอัตราส่วน 1:1 (ใช้วัสดุเท่าๆกัน)
2.นำเอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ มาผสมกับน้ำตาลหรือกากน้ำตาล และน้ำในอัตราส่วน 1:1:10 หรือใช้หัวเชื้อ 1 ลิตร ต่อน้ำตาล 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร
3.นำวัสดุที่เตรียมได้ในข้อ 1 มาผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่เตรียมได้ในข้อ 2 โดยค่อยๆ เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ผสมในวัสดุคลุกให้เข้ากันจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ ปั้นเป็นก้อนกลม
4.นำก้อนจุลินทรีย์ที่ปั้นวางเรืองหรือบ่มไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดดหรือฝนโดยตรง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เอากระสอบป่านหรือผ้าคลุมรักษาอุณหภูมิไว้ประมาณ 14 วัน หรือจนเส้นใยยุบตัวและอุณหภูมิไม่ร้อน (ตอนบ่มหรือหมักจะมี่ความร้อนเกิดขั้นบางครั้งอาจสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ดังนั้นไม่ควรวางเรียงซ้อนกันเป็นกองสูงมากนัก และควรบ่มในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก)
5.นำไปโยนในที่ที่มีน้ำเน่าเสีย ที่น้ำค่อนข้างนิ่ง ในอัตราส่วน พื้นที่ประมาร 5 ตารางเมตร ต่อ 1 ลูก
ที่มา: http://tvthainetwork.com
หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เน้นสำหรับบำบัดน้ำเสีย (ขั้นตอนนี้สามารถใช้น้ำหมักชีวิภาพที่หมักกันที่บ้าน หรือใช้ น้ำ EM ที่ทำขายแทนก็ได้) สามารถทำให้โดย
1.ใช้ดินธรรมชาติ ดินบริสุทธิ์ (ดินที่มีลักษณะของเส้นใยของเชื้อราสีขาวๆ ซึ่งสามารถพบได้ในบริเวณที่มีใบไม้แห้งใบไม้ผุกองทัดถมกัน) หรือเอาเปลือกผลไม้สุก เช่น เปลือกสับปะรด แหล่งของจุลินทรีย์
2.นำวัสดุในข้อแรก นำมาใส่ถังเตรียมไว้สำหรับหมัก เติมน้ำให้พอท่วมวัสดุ
3.เติมน้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ในปริมาณ หรือ อัตราส่วน 1:1 คือวัสดุหนักเท่าไหร่ เติมน้ำตาลหรือกากน้ำตาลหนักเท่านั้น
4.ผสมให้น้ำตาล หรือกากน้ำตาลละลาย ปิดปากถังหมักด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ (เพราะสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนอากาศได้ดี จุลินทรีย์ต้องการใช้อากาศในการเพิ่มจำนวน)
5.หมักไปสักประมาณ 1 สัปดาห์ (เป็นระยะเวลาที่จุลินทรีย์มีจำนวนสูงที่สุด)
6.กรองเอาน้ำหมักใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์
สำหรับในขั้นตอนนี้ ถ้าใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ทางการค้า หรือซื้อมาให้นำมาเติมน้ำตาลในอัตราส่วน จุลินทรีย์ 1 ลิตร ใช้น้ำตาล หรือกากน้ำตาลประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ แล้วหมักไว้สัก 2-7 วัน เพื่อกระตุ้นจุลินทรีย์ ก่อนนำมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์
ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการทำก้อนจุลินทรีย์ (EM ball)
วัตถุดิบที่ใช้ คือ
1.ดินธรรมชาติ ดินเลน หรือขี้เถ้าแกลบ
2.รำข้าว
3.หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ที่เตรียมได้ในขั้นตอนที่ 1)
4.น้ำตาลหรือกากน้ำตาล
ขั้นตอนต่อไป คือ
1.นำเอาดินธรรมชาติ หรือขี้เถ้าแกลบมาผสมให้เข้ากันกับ รำข้าว ในอัตราส่วน 1:1 (ใช้วัสดุเท่าๆกัน)
2.นำเอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ มาผสมกับน้ำตาลหรือกากน้ำตาล และน้ำในอัตราส่วน 1:1:10 หรือใช้หัวเชื้อ 1 ลิตร ต่อน้ำตาล 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร
3.นำวัสดุที่เตรียมได้ในข้อ 1 มาผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่เตรียมได้ในข้อ 2 โดยค่อยๆ เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ผสมในวัสดุคลุกให้เข้ากันจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ ปั้นเป็นก้อนกลม
4.นำก้อนจุลินทรีย์ที่ปั้นวางเรืองหรือบ่มไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดดหรือฝนโดยตรง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เอากระสอบป่านหรือผ้าคลุมรักษาอุณหภูมิไว้ประมาณ 14 วัน หรือจนเส้นใยยุบตัวและอุณหภูมิไม่ร้อน (ตอนบ่มหรือหมักจะมี่ความร้อนเกิดขั้นบางครั้งอาจสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ดังนั้นไม่ควรวางเรียงซ้อนกันเป็นกองสูงมากนัก และควรบ่มในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก)
5.นำไปโยนในที่ที่มีน้ำเน่าเสีย ที่น้ำค่อนข้างนิ่ง ในอัตราส่วน พื้นที่ประมาร 5 ตารางเมตร ต่อ 1 ลูก
ที่มา: http://tvthainetwork.com