ค้นหาสินค้า

เหลืองโกเมน

จำหน่ายต้นเหลืองโกเมน กล้าและกิ่งพันธุ์เหลืองโกเมน สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

เหลืองโกเมน

จังหวัดที่ขายเหลืองโกเมน

ดูสินค้าหมวด เหลืองโกเมน ทั้งหมดในเว็บ

ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และ มะลินิลสุรินทร์ ข้าวทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ (3923)

มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ซึ่งได้จากการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเจ้าต่างสี พันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง 3 พันธุ์ คือ มะลิแดง เบอร์ 54 มะลิพื้นเมือง (ข้าวแดง) และมะลิดำ เบอร์ 53 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 จนได้พันธุ์บริสุทธิ์ จำนวน 12 สายพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง จำนวน 5 พันธุ์ คือ มะลิโกเมนสุรินทร์ 1-5 และกลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ จำนวน 7 พันธุ์ คือ มะลินิลสุรินทร์ 1-7    


   
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ สามารถสนองต่อการเรียกหาของคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งยังมีข้อดีทางด้านคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี คือ เป็นข้าวเมล็ดเรียวยาว เปอร์เซ็นต์อะมิโลสต่ำ ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม จากการตรวจวิเคราะห์ในเมล็ดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ประกอบด้วย สารประกอบฟีโนลิก และแอนโทไซยานิน ที่มีผลทำให้ผิวหนังของเราไม่เหี่ยวแห้งเร็วก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมองและโรคอัมพาตอีกด้วย    


   
นอกจากนั้น ข้าวกลุ่มนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ เพราะมีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ จึงเป็นทางเลือกสำหรับชาวนาที่ทำนาแบบอินทรีย์ ผลผลิตภายใต้สภาพการปลูกแบบอินทรีย์ จะอยู่ที่ 224-458 กิโลกรัม/ไร่ ความสูง 158-185 เซนติเมตร ออกดอกระหว่าง วันที่ 20-29 ตุลาคม    


   
"มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ตอบสนองต่อปุ๋ยค่อนข้างต่ำ ผลผลิตจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการบำรุงดิน ไม่ว่าจะได้ผลผลิต 270 300 หรือ 400 กิโลกรัม/ไร่ มันก็กำไรอยู่แล้ว เพราะต้นทุนต่ำ"    


   
คุณรณชัย บอกกล่าวถึงคุณสมบัติของข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ ที่ได้จากการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวมีความต้องการปุ๋ยเคมีน้อย แต่ปัจจัยของผลผลิตของข้าวสายพันธุ์นี้ ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุและอาหารในดิน ดังนั้น การดูแลรักษาและบำรุงดิน จึงจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าผลผลิตจะออกมาเท่าไหร่ ผู้ที่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์นั้น ก็มีกำไรเสมอ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตข้าวที่ต่ำ    


   
ที่มา:  หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน