ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเสลา ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นเสลา : Lagerstroemia loudonii Teijsm & Binn.
ชื่อภาษาอังกฤษของต้นเสลา : Thai Bungor
ชื่ออื่น ๆ ของต้นเสลา : เกรียบ, ตะเกรียบ, ตะแบกขน, เสลาใบใหญ่, อินทรชิต
ลักษณะลำต้นของต้นเสลา : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ เปลือกต้นสีเทาเข้มเกือบดำ ผิวขรุขระ มีรอยแตกเป็นทางยาว กิ่งโน้มลงต่ำ เปลือกชั้นในเป็นชั้นสีน้ำตาลและขาวบางๆ หลายชั้น
ลักษณะใบของต้นเสลา : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบมน แผ่นใบค่อนข้างหนา มีขนนุ่มทั้งสองด้าน
ลักษณะดอกของต้นเสลา : ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อดอกรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกห้อยลง ดอกมีหลายสี เช่น สีม่วง ม่วงอมแดง ขาว หรืออาจมีทั้งสีขาวและม่วง
ลักษณะผลของต้นเสลา : รูปกลมรี เปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและแตกออก
ลักษณะเมล็ดของต้นเสลา : สีน้ำตาลเข้ม มีปีก
การขยายพันธุ์ของต้นเสลา
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การดูแลต้นเสลา
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนแล้ง และทนดินเค็ม
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเสลา
- เปลือก แก้ท้องเสีย และบรรเทาอาการแผลอักเสบ
ประโยชน์ของต้นเสลา
- นิยมปลูกประดับสวน หรือปลูกตามริมถนน ริมทางเดิน เพื่อให้ร่มเงาและความร่มรื่นกับบริเวณโดยรอบ
- เนื้อไม้นำมาแกะสลัก หรือทำเครื่องมือช่าง
- เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์