ค้นหาสินค้า

เต่าร้าง

ขายต้นเต่าร้างราคาถูก ประดับบ้าน ต้นไม้ทำรั้ว และบังแดดให้ร่มเงา เต่าร้างต้นเล็กต้นใหญ่ ปลูกในกระถาง วิธีดูแล

ต้นเต่าร้าง

ต้นเต่าร้างเขียว
ต้นเต่าร้างเขียว ปราจีนบุรี

ราคา 300.00 บาท /ต้น

ต้นเต่าร้าง
ต้นเต่าร้าง เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 350.00 บาท /ต้น

เต่าร้างด่าง
เต่าร้างด่าง เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นเต่าร้าง

ปราจีนบุรี (3 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นเต่าร้าง ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์เต่าร้าง

เมล็ดเต่าร้าง (Caryota Urens)
เมล็ดเต่าร้าง (Caryota Urens) เมืองปทุมธานี ปทุมธานี

ราคา 1.00 บาท /เมล็ด

ขายเมล็ดเต่าร้าง
ขายเมล็ดเต่าร้าง เชียงใหม่

ราคา 100.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์เต่าร้าง

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์เต่าร้าง ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นเต่าร้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm, Burmese fishtail palm, Clustered fishtail palm, Tufted fishtail palm

ชื่ออื่นๆ : เต่าร้างแดง, เชื่องหมู่, มะเด็ง, งือเด็ง

ลำต้น : เป็นปาล์มแตกกอ ลำต้นเดี่ยว กลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง เห็นข้อปล้องชัดเจน เรือนยอดทึบ ผิวลำต้นสีเขียวถึงสีเทาอมเขียว หลังออกดอกเป็นผลแล้วต้นจะค่อยๆ ตายไป

ใบ : เป็นใบประกอบขนนกสองชั้น แผ่นใบรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน ขอบใบหยักเว้าไม่สม่ำเสมอ กาบใบยาว โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม

ดอก : ออกเป็นช่อระหว่างกาบใบและใต้โคนกาบใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกเพศผู้ดอกสีเหลืองนวล ไม่มีก้าน ดอกเพศเมียสีเขียวอ่อน เป็นพวง

ผล : เป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวทรงกลม ออกเป็นพวง ผลดิบสีเขียวแกมเหลือง ผลสุกสีแดงคล้ำหรือสีดำ

เต่าร้าง

การขยายพันธุ์ของต้นเต่าร้าง

เพาะเมล็ด แยกกอหรือหน่อ

การดูแลต้นเต่าร้าง

ปลูกได้ในดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน ทนดินเค็ม การเจริญเติบโตช้า

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเต่าร้าง

- หัวและราก ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการ

- ผลแก่ ใช้ในการสมานแผล ทำให้แผลแห้งและตกสะเก็ดไวขึ้น

ประโยชน์ของต้นร้าง

- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

- ยอดอ่อน นำมาประกอบอาหาร

- ผลสุก นำมารับประทานสดมีรสชาติหวาน

- ช่อดอก สามารถปาดเอาน้ำหวานมาผลิตเป็นน้ำตาล

- ใบ สามารถนำมามุงหลังคา

- เส้นใบจากกาบใบ ใช้ทำเป็นเชือกสำหรับผูกของ หรือ นำไปเป็นเครื่องจักรสาน

- แกนในของลำต้นในส่วนที่มีความอ่อน นำมาประกอบอาหาร


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเต่าร้าง (3683)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์:  PALMAE
ชื่อสามัญ:  Common fishtail palm, Clustering Fishtail Palm, Jaggery Palm
ชื่อพื้นเมือง:  เต่ารั้ง เต่ารั้งแดง มะเด็ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มชนิดแตกกอ  สูง 3-12  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้นประมาณ 10 ซม. รากแบบระบบรากฝอย (fibrous root system) รากเป็นรากเกิดใหม่ที่โคนต้น ลำต้นสามารถแตกหน่อด้านข้างในตำแหน่งใต้ดินหรือใกล้ผิวดินเป็นกอ เป็นกอขนาดเล็ก ลำต้นมีสีแดงเข้มปนน้ำตาลจนเกือบดำ
    ใบ  เรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น  เป็นรูปหางปลา ปลายใบเว้า มีหยัก ฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวเข้มทั้งหลังใบและใต้ใบ กว้างประมาณ 120 ซม. ยาวประมาณ 200 ซม.  ใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยม
    ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามลำต้น ช่อดอกจะผลิดอกย่อยออกมาจากภายใต้กาบใบ ช่อดอกประกอบด้วย ดอกเพศผู้สีเหลืองนวล ดอกเพศเมียสีเหลือง เป็นพวงยาวประมาณ 60 - 90 ซม. แขนงช่อดอกจะมี ดอกออก 2 ข้าง รูป spike รวมเป็นกระจุก กระจุกๆละ 3 ดอก
    ฝัก/ผล  ค่อนข้างกลม  เรียงเป็นแถว ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีแดงคล้ำถึงดำ ผิวของผลมีขนละเอียดเล็ก ๆ ถ้าได้สัมผัสจะ ทำให้คันมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    บริโภค
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร:  แกงหรือต้มเป็นอาหาร
สรรพคุณทางยา:  
    -    ราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด
    -    หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ