ลักษณะของเข็มม่วง (3535)
ชื่อวงศ์: ACANTACEAE
ชื่อสามัญ: Violet Ixora
ชื่อพื้นเมือง: เข็มพญาอินทร์ ร่องไม้ เฉียงพร้าป่า ยายปลัง
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้พุ่มเตี้ยแน่นทึบ สูง ประมาณเมตรเศษๆ ลำต้นเล็ก กิ่งก้านเปราะและมีสาขา ไม่มากนัก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปรี กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวสดเป็นมัน เส้นใบสีเขียวเข้ม
ดอก สีฟ้าอมม่วงหรือม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อฉัตรที่ปลายกิ่ง ใบประดับสีเขียวเข้ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สองกลีบบนติดกันเป็นคู่และมีขนาดเล็กกว่าสามกลีบล่างกลีบตรงกลางสองอันอยู่ตรงข้ามกันกางออกด้านข้าง กลีบล่าง 1 กลีบมีสีขาวแต้มตรงกลาง
ฝัก/ผล ผลแห้งแตก รูปไข่ยาว
ฤดูกาลออกดอก: มกราคม-กุมภาพันธ์
การปลูก: ปลูกลงแปลงประดับสวน ริมน้ำตก ลำธาร สระว่ายน้ำ
การดูแลรักษา: ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี แดดปานกลาง-รำไร
การขยายพันธุ์: การตอน ปักชำ
ถิ่นกำเนิด: ไทย
แหล่งที่พบ: พบมากในป่าทางภาคใต้