สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหนวดปลาหมึก
- เปลือกต้น เป็นยาระบาย
- ใบ ใช้ในการขับเหงื่อ
- ดอก แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ลดไข้ เป็นยาขับระดู และแก้โรคตับอักเสบ
- ผล มีกลิ่นหอมบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
- ราก ขับเสมหะ
ขายหนวดปลาหมึก พันธุ์หนวดปลาหมึก สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์
- เปลือกต้น เป็นยาระบาย
- ใบ ใช้ในการขับเหงื่อ
- ดอก แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ลดไข้ เป็นยาขับระดู และแก้โรคตับอักเสบ
- ผล มีกลิ่นหอมบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
- ราก ขับเสมหะ
เชื่อกันว่าด้วยใบของเขาที่มีการเรียงตัวกันราวกับฝ่ามือ ทำให้มันเป็นต้นไม้ที่จะมาคอยปัดเป่าและไล่สิ่งชั่วร้ายให้ออกไปได้ และส่งเสริมการเจริญเติบโต ความมีชีวิตชีวา สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี ขจัดอุปสรรคในชีวิต สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว หากได้รับการดูแลอย่างดีจะดึงดูดความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรือง ไม่ควรวางต้นหนวดปลาหมึกในมุมมืด ควรปลูกในทางทิศตะวันออก
- เตรียมดินปลูก กาบมะพร้าวสับและอินทรียวัตถุ อัตราส่วนละ 1 ส่วน เท่าๆ กัน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ใช้นิ้วมือดันดินใต้รูก้นกระถาง แล้วค่อยๆ ดึงต้นหนวดปลาหมึกแคระด่างออกจากกระถางเดิม
- นำดินรองพื้นก้นกระถางใหม่ วางต้นไม้ลงในกระถางแล้วเติมดินจนเต็มกระถาง
- รดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรจัดวางให้โดนแสงแดดโดยตรง ควรจัดวางในบริเวณพื้นที่ที่มีแสงแดดร่มรำไรหรือบริเวณหน้าต่างที่มีการพรางของแสงแดด
- ควรใช้ไม้ค้ำมาดามต้น เพื่อป้องกันการเอนกิ่งก้านล้ม เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีกิ่งก้านที่ไม่แข็งแรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ต้นหนวดปลาหมึกแคระ : Schefflera arboricola (Hayata) Merr.
ชื่อภาษาอังกฤษต้นหนวดปลาหมึกแคระ : Miniature Umbrella Plant, Hawaiian Elf
ลักษณะลำต้นต้นหนวดปลาหมึกแคระ : เป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มกลม
ลักษณะใบต้นหนวดปลาหมึกแคระ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้ม เกลี้ยง เป็นมัน ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อน
ลักษณะดอกต้นหนวดปลาหมึกแคระ : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือยอด ช่อดอกตั้ง ดอกสีชมพู มีขนาดเล็ก
โดยการปักชำกิ่ง
ปลูกได้ในดินทุกประเภทที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไรถึงปานกลาง
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ต้นหนวดปลาหมึกด่าง : Schefflera arboricola (Variegated)
ชื่อภาษาอังกฤษต้นหนวดปลาหมึกด่าง : Miniature Umbrella Plant
ชื่ออื่นๆ ต้นหนวดปลาหมึกด่าง : หนวดปลาหมึกใบกลม
ลักษณะลำต้นต้นหนวดปลาหมึกด่าง : เป็นไม้พุ่ม
ลักษณะใบต้นหนวดปลาหมึกด่าง : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปไข่ แผ่นใบหนาเหมือนแผ่นหนัง สีเขียวเป็นมันมีด่างสีขาวและด่างสีเหลือง ก้านใบยาว
ลักษณะดอกต้นหนวดปลาหมึกด่าง : ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอด
โดยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
ปลูกได้ในดินทั่วไป ที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร-ปานกลาง เจริญเติบโตปานกลาง การดูแลใบของต้นหนวดปลาหมึกด่าง สามารถทำได้โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ ลูบผิวใบเพื่อเช็ดฝุ่นออก หลังจากนั้นใช้ผ้าสะอาดชุบด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว ลูบเช็ดใบอีกครั้ง เพื่อให้ผิวใบด่างมัน
มีกิ่งก้านที่ไม่แข็งแรง ทำให้มีการเอนกิ่งก้านออกจากกระถาง ควรใช้ไม้ค้ำมาดามต้น เพื่อป้องกันการเอนกิ่งก้านล้ม
นิยมปลูกริมถนนหรือริมทางเดิน และใช้เป็นไม้ประดับในอาคาร
ชื่อวิทยาศาสตร์ต้นหนวดปลาหมึกเขียว : Schefflera actinophylla (Eudl.) Harms
ชื่อภาษาอังกฤษต้นหนวดปลาหมึกเขียว : Umbrella Tree, Octopus tree
ลักษณะลำต้นต้นหนวดปลาหมึกเขียว : เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มทรงกระบอก หรือรูปร่ม ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศห้อยตามลำต้นและกิ่ง
ลักษณะใบต้นหนวดปลาหมึกเขียว : เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ รูปรี หรือรูปรีแกมรูป ขอบขนาน ปลายใบติ่งแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน
ลักษณะดอกต้นหนวดปลาหมึกเขียว : ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อย่อยซี่ร่มที่ปลายกิ่ง ใบเป็นแฉกสวยงาม
ลักษณะผลต้นหนวดปลาหมึกเขียว : ผลแห้งแตก สีแดง ออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก
ลักษณะเมล็ดต้นหนวดปลาหมึกเขียว : ทรงกลม สีนํ้าตาล อมดำ ขนาดเล็ก
โดยการเพาะเมล็ด ตอนลำต้น ปักชำกิ่ง
ปลูกได้ในดินร่วน ชอบแดดรำไร-ปานกลาง ต้องการน้ำปานกลาง เจริญเติบโตเร็วมาก
เป็นพืชที่สามารถดูดอากาศหรือฟอกอากาศได้ในระดับดี เนิยมนำไปปลูกเป็นแนวสวนเรียงติดกัน ปลูกลงกระถางประดับในอาคาร หรือปลูกในสวน ริมน้ำตก ลำธาร สระว่ายน้ำ หรือริมถนน ทางเดิน และสามารถนำมาทำเป็นไม้บอนไซได้อีกด้วย