ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นส้มซ่า ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ วิธีการดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ และประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นส้มซ่า : Citrus aurantium var. aurantium
ชื่ออื่นๆ ของต้นส้มซ่า : มะขุน, ส้มส่า, มะนาวควาย, ส้มมะงั่ว
ลักษณะลำต้นของต้นส้มซ่า : เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่มกลม มีกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม กิ่งมีหนามแหลมสั้น เปลือกลำต้นสีดำ
ลักษณะใบของต้นส้มซ่า : เป็นใบเดี่ยว มีต่อมน้ำมันเป็นจุดกระจายทั่วใบ ทำให้มีกลิ่นหอม ตัวใบแบ่งเป็นสองส่วน ครึ่งบนเป็นแผ่นกว้างรูปไข่ ครึ่งล่างแผ่เป็นปีกแคบคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบหนาเป็นมัน สีเขียวเข้มขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย
ลักษณะดอกของต้นส้มซ่า : เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มออกตามซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมแรง
ลักษณะผลของต้นส้มซ่า : ทรงกลม ตรงกลางกลวง เปลือกหนา ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวผลเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย มีกลิ่นหอม เนื้อในคล้ายส้มโอ รสหวานอมเปรี้ยวและขม ติดผลทั้งปี มีเมล็ดเยอะ
การขยายพันธุ์ของต้นส้มซ่า
เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
การดูแลต้นส้มซ่า
ปลูกได้ง่ายในดินทุกชนิด ทนได้ทุกสภาพอากาศ ชอบความชุ่มชื้น หนอนแมลงก็ไม่ค่อยมารบกวน
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นส้มซ่า
- เปลือกผล มีรสปร่าหอม ใช้ทำยาหอมแก้ลม วิงเวียน หน้ามืดตาลาย แก้ท้องอืดเฟ้อ
- น้ำในผล รสเปรี้ยวอมหวาน กัดฟอกเสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิต
- ใบ รักษาโรคผิวหนัง
ความเชื่อของต้นส้มซ่า
เป็นไม้มงคล เชื่อว่าปลูกเพื่อให้ลูกหลานมีชื่อเสียงดี ควรปลูกทางทิศเหนือร่วมกับส้มป่อยและมะเดื่อ
ประโยชน์ของต้นส้มซ่า
- เปลือกใช้ผิวแต่งกลิ่นแต่งรสชาติของอาหารตำรับชาววังโบราณ เช่น หมี่กรอบ ปลาแนม หมูแนม ส้มฉุน หรือซอสส้มซ่า
- น้ำคั้นจากผลใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร
- ผล ปอกเปลือกเอาเนื้อในรับประทาน รสชาติจะหวานปนเปรี้ยวฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอมอร่อยมาก
- สามารถนำไปแปรรูป เป็นน้ำผลไม้ แยมผลไม้ สบู่ ครีมทาผิว รวมไปถึงเครื่องสำอางอีกหลายชนิด