ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรง (3693)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cycas cirinalis L.
ชื่อวงศ์: Cycadaceae
ชื่อสามัญ: Cycas tree หรือ Cycas palm
ชื่อพื้นเมือง: กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งม่าง
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน
ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll)
ดอก แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด
เมล็ด ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
การปลูก: เมล็ดของปรงจะงอกได้ช้ามาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการฟักตัวก็ตาม การทำให้เมล็ดปรงงอกได้เร็ว จึงต้องนำเมล็ดปรงมาปอก เอาเนื้อหุ้มเมล็ด ที่อยู่ชั้นนอกออกให้หมด แล้วจะพบเปลือกแข็งอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า กะลาห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จึงควรนำไปฝนจนกะลาทะลุหรือกะเทาะให้แตก เพื่อให้น้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในเมล็ด แล้วเมล็ดจะงอกได้เร็วขึ้น ถ้ามีการแกะกะลาออกให้หมดจะเหลือแต่ endosperm ก่อนนำไปเพาะ ควรนำไปแช่น้ำยาป้องกันเชื้อราเสียก่อน การเพาะโดยวิธีนี้จะได้ต้นอ่อน ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและต้นอ่อนมีขนาดสม่ำเสมอกัน
การดูแลรักษา: ต้องการดินปลูกที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำน้อย
การขยายพันธุ์: การแยกหน่อและการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- ใบใช้ ในงานพิธีต่างๆ
- ลำต้นของปรงบางชนิด ทำแป้งสาคู
- เมล็ดของปรงบางชนิด การสกัดยาจาก แต่การนำมาเป็นอาหารและยา ควรจะระมัดระวัง ให้มากเนื่องจากปรงบางชนิดยังมีสารพิษอยู่ด้วย
แหล่งที่พบ: ขึ้นอยู่บนภูเขา ตามหน้าผาหรือเกาะอยู่กับโขดหิน
ชื่อวงศ์: Cycadaceae
ชื่อสามัญ: Cycas tree หรือ Cycas palm
ชื่อพื้นเมือง: กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งม่าง
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน
ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll)
ดอก แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด
เมล็ด ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
การปลูก: เมล็ดของปรงจะงอกได้ช้ามาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการฟักตัวก็ตาม การทำให้เมล็ดปรงงอกได้เร็ว จึงต้องนำเมล็ดปรงมาปอก เอาเนื้อหุ้มเมล็ด ที่อยู่ชั้นนอกออกให้หมด แล้วจะพบเปลือกแข็งอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า กะลาห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จึงควรนำไปฝนจนกะลาทะลุหรือกะเทาะให้แตก เพื่อให้น้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในเมล็ด แล้วเมล็ดจะงอกได้เร็วขึ้น ถ้ามีการแกะกะลาออกให้หมดจะเหลือแต่ endosperm ก่อนนำไปเพาะ ควรนำไปแช่น้ำยาป้องกันเชื้อราเสียก่อน การเพาะโดยวิธีนี้จะได้ต้นอ่อน ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและต้นอ่อนมีขนาดสม่ำเสมอกัน
การดูแลรักษา: ต้องการดินปลูกที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำน้อย
การขยายพันธุ์: การแยกหน่อและการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- ใบใช้ ในงานพิธีต่างๆ
- ลำต้นของปรงบางชนิด ทำแป้งสาคู
- เมล็ดของปรงบางชนิด การสกัดยาจาก แต่การนำมาเป็นอาหารและยา ควรจะระมัดระวัง ให้มากเนื่องจากปรงบางชนิดยังมีสารพิษอยู่ด้วย
แหล่งที่พบ: ขึ้นอยู่บนภูเขา ตามหน้าผาหรือเกาะอยู่กับโขดหิน