ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นบุษบาฮาวาย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ ดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asystasia gangetica (L.) T.Anderson
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ganges Primrose, Ganges River asystacia, Chinese violet, Coromandel, Creeping foxglove, Baya, Yaya, Indian asystacia
ชื่ออื่นๆ : บาหยา, ย่าหยา, บุษบาริมทาง, ผักกูดเน่า
ลำต้น : เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นอ่อน แผ่กิ่งก้านไปตามพื้นดิน กิ่งเป็นเหลี่ยม สีเขียว ปลายกิ่งชูตั้งขึ้น จนกว่าจะหาที่ยึดเกาะได้
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า ใบสีเขียวเข้มปนเขียวอ่อนอมเหลือง มีด่างสีขาวทั่วใบ ผิวใบเป็นมัน ใต้ใบมีขนสั้นนุ่ม
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกสีม่วง และสีขาว ออกดอกตลอดปี
ผล : ผลแห้งแตก รูปไข่ มีขน
การขยายพันธุ์ของต้นบุษบาฮาวาย
การปักชำ เพาะเมล็ด
การดูแลต้นบุษบาฮาวาย
ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด เจริญเติบโตเร็ว
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นบุษบาฮาวาย
- ราก แก้ไข้ แก้พิษฝีภายใน ขับลม
- ใบ แก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ
- ใบและดอก สมานลำไส้ ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก บำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา แก้พิษงู และแก้ม้ามโต
ประโยชน์ของต้นบุษบาฮาวาย
- นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป เหมาะปลูกคลุมดิน
- ดอก ใบ ยอดอ่อน มีรสหวานธรรมชาติ สามารถนำมากินสดหรือจะปรุงเป็นอาหาร