ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นนางแย้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. var. chinense
ชื่อภาษาอังกฤษ : Chinese Glory Bower, Glory flower, Fragrant Clerodendrum. Lady nugant’s rose, Rose Clerodendrum, Burma conehead
ชื่ออื่นๆ : ปิ้งชะมด, ปิ้งสมุทร, ปิ้งหอม
ลำต้น : เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตรงเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีสีน้ำตาลดำ มีขนนุ่มปกคลุม กิ่งเปราะหักง่าย
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบรูปหัวใจขนาดใหญ่หรือปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวหม่น ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนละเอียดทั้งสองด้าน
ดอก : ออกเป็นช่อประจุกแน่นที่ปลายยอด ดอกสีขาวอมม่วงแดง มีกลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี ดอกคล้ายดอกมะลิซ้อน ทยอยบาน และบานหลายวัน
ผล : สด ทรงกลมถึงรูปรี ผลแห้งเมื่อแก่จะมีสีน้ำเงินดำ
เมล็ด : เป็นเมล็ดเดียว แข็ง
การขยายพันธุ์ของต้นนางแย้ม
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง แยกกอ หรือปักชำกิ่ง
การดูแลต้นนางแย้ม
ปลูกได้ในดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดตลอดวัน ทนแล้ง ทนร้อน เจริญเติบโตเร็ว
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นนางแย้ม
- ใบ รักษาโรคผิวหนัง, รักษาไขข้ออักเสบ, ขับระดูขาวของสตรี, ลดความดันโลหิตสูง, แก้หลอดลมอักเสบ
- ราก บำรุงประสาท ,แก้ไข้, ลดความดันโลหิตสูง, แก้หลอดลมอักเสบ, รักษาลำไส้อักเสบ, แก้ริดสีดวงทวาร, ขับปัสสาวะ, ขับระดูขาวของสตรี, แก้ไตพิการ, แก้ฝีภายใน,รักษาเริมและงูสวัด, แก้เหน็บชา, แก้อาการปวดข้อ, แก้อาการกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
- ต้น ช่วยขับปัสสาวะ, แก้ไตพิการ, แก้พิษฝี, แก้อาการกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
- เปลือก แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการไอ อาการเจ็บคอ
- ดอก แก้ฝีภายใน, แก้ปัสสาวะเหลือง, ขับลมในระบบทางเดินอาหาร, ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ, บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ป้องกันโรคเหน็บชา, ลดไขมันในเส้นเลือด, แก้อาการท้องเสีย, รักษาอาการปวดฟัน, ช่วยห้ามเลือด, ช่วยลดเรือนรอยด่างดำ, ช่วยให้ผิวพรรณแลดูขาว แลดูอ่อนวัย
ประโยชน์ของต้นนางแย้ม
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ดอก นำมาใช้บูชาพระ
- ใบ นำมาหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้ได้ดี