ค้นหาสินค้า

ถ้วยทอง

ขายต้นถ้วยทอง ราคาถูก การปลูกถ้วยทอง วิธีดูแล และการขยายพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะถ้วยทอง ดอกและสรรพคุณ

ต้นถ้วยทอง

ต้นถ้วยทอง
ต้นถ้วยทอง นาคู กาฬสินธุ์

ถ้วยทอง ต้นละ390บาท
ถ้วยทอง ต้นละ390บาท บางพลี สมุทรปราการ

ราคา 390.00 บาท /ต้น?

ต้นดอกถ้วยทอง
ต้นดอกถ้วยทอง กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี

ราคา 150.00 บาท

ถ้วยทอง
ถ้วยทอง สมุทรปราการ

ราคา 189.00 บาท /ต้น

ถ้วยทอง(ไม้แห่งชัยชนะ)
ถ้วยทอง(ไม้แห่งชัยชนะ) พนัสนิคม ชลบุรี

ถ้วยทอง
ถ้วยทอง สะเดา สงขลา

ต้นถว้ยทอง
ต้นถว้ยทอง บางเลน นครปฐม

ราคา 80.00 บาท /ต้น

ถ้วยทองด่าง
ถ้วยทองด่าง สันป่าตอง เชียงใหม่

ราคา 350.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นถ้วยทอง

กาฬสินธุ์ (1 ร้าน)

ชลบุรี (1 ร้าน)

เชียงใหม่ (1 ร้าน)

นครปฐม (1 ร้าน)

สงขลา (1 ร้าน)

สมุทรปราการ (2 ร้าน)

สุราษฎร์ธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นถ้วยทอง ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าถ้วยทอง

ต้นกล้าถ้วยทอง
ต้นกล้าถ้วยทอง พนัสนิคม ชลบุรี

จังหวัดที่ขายต้นกล้าถ้วยทอง

ชลบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าถ้วยทอง ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นถ้วยทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solandra grandiflora Sw.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Trumpet Plant, Showy chalicevine

ลำต้น : เป็นไม้เลื้อย มีรากพิเศษออกตามลำต้น เถาหรือลำต้นมีสีเขียวเข้ม และเมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล เถาเกลี้ยง ไม่มีขน

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน

ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ดอกรูปถ้วย ดอกสีขาวนวลจนถึงสีเหลือง มีแถบสีม่วงน้ำตาลด้านใน ออกดอกตลอดปี ดอกมีกลิ่นหอม บานตอนกลางคืน

ผล : เป็นผลสดมีเนื้อ ทรงกลม เมื่อสุกสีขาวครีม

เมล็ด : รูปไต สีน้ำตาลอ่อน

ถ้วยทอง

การขยายพันธุ์ของต้นถ้วยทอง

เพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง

การดูแลของต้นถ้วยทอง

ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน เจริญเติบโตเร็ว

ประโยชน์ของต้นถ้วยทอง

ปลูกเป็นไม้ประดับ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของถ้วยทอง (3441)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Solandra grandiflora Swartz.
ชื่อวงศ์:    SOLANACEAE
ชื่อสามัญ:    -
ชื่อพื้นเมือง:    -
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    เป็นไม้เถาที่มีขนาดใหญ่ เถาหรือลำต้น มีสีเขียวเข้ม และเมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล เถาเกลี้ยง ไม่มีขน
    ใบ    เป็นไม้ใบเดี่ยว จะแตกใบบริเวณปลายกิ่ง ใบถี่ ใบเป็นรูปรีหรือรูปแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมโคนใบสอบเว้าหาก้านใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบกลมสีเขียว ค่อนข้างยาวและแข็ง
    ดอก    เป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและบริเวณปลายกิ่งลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกรวยที่มีขนาดใหญ่ บริเวณปากกรวยจะคอดและปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ หรือ 5 แฉกดอกสีเหลืองและภายในดอกจะเป็นแถบสีม่วงแดงเป็นเส้น ๆ ตามยาว ประมาณ 10 เส้น มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคนดอก
    ฝัก/ผล    รูปค่อนข้างกลม .
    เมล็ด    สีน้ำตาลอ่อน รูปไต
ฤดูกาลออกดอก:    ในช่วงเดือน ตุลาคม - มกราคม
การขยายพันธุ์:    เมล็ด และการปักชำกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกด้วยทองจะมีกลิ่นหอมจัดในตอนเย็น
การใช้ประโยชน์:    ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:    หมู่เกาะเวสต์อินดีส อเมริกาเขตร้อน
แหล่งที่พบ:    ทั่วไป


ลักษณะของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10 และพันธุ์อู่ทอง 84-11 (3929)

อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10  
   
มีลักษณะเด่น คือ หากปลูกในเขตชลประทานจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.77 ตัน/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 41 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 71 ทั้งยังให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.85 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 39 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 70  ขณะที่ให้ความหวานอยู่ที่ 14.42 ซีซีเอส   ถ้าปลูกในเขตที่มีน้ำเสริมจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 15.28 ตันต่อไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200  ร้อยละ 11 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 19  และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.12 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 17 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 15 ส่วนความหวานอยู่ที่ 13.83 ซีซีเอส    นอกจากนั้นยังต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง  ทั้งนี้ ไม่ควรปลูกอ้อยอู่ทอง 84-10 ในเขตที่มีการระบาดของหนอนกออ้อย    


   
สำหรับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-11
   
ว่าเดิมชื่ออ้อยโคลน 02-2-226 ได้จากการผสมข้ามระหว่างอ้อยพันธุ์แม่ 93-2-085 กับพันธุ์พ่อ 92-2-065 ซึ่งอ้อยพันธุ์ใหม่นี้มีลักษณะเด่น   คือ ถ้าปลูกในพื้นที่เขตชลประทานจะให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.24 ตัน/ไร่   สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 30    
สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 58   ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.67 ตันซีซีเอส/ไร่  สูงกว่าพันธุ์  K 84-200 ร้อยละ 30  สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 59 และให้ความหวาน 14.66 ซีซีเอส     ถ้าในเขตที่มีน้ำเสริมให้ผลผลิตเฉลี่ย 13.25 ตัน/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 15   สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 31 ขณะที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.75 ตันซีซีเอส/ไร่  สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 18  สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 24 ส่วนความหวาน อยู่ที่ 13.21 ซีซีเอส   นอกจากนั้นยังสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดง  และโรคแส้ดำได้ปานกลางด้วย    


   
ข้อมูลจาก : จดหมายข่าว ผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร
   
ที่มา : กรมวิชการเกษตร