ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยวปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมันมีขนอ่อนนุ่ม ท้องใบสีเขียวหม่น
ดอก : ออกเป็นช่อบริเวณปลายยอดหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาว
ผล : ทรงกลม เป็นผลสดฉ่ำน้ำ เปลือกผลบางสีน้ำตาลหยุ่นคล้ายหนัง มีลายจุดสีน้ำตาลเข้ม ด้านในมีสีขาว ส่วนเนื้อเรียบ เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีใสฉ่ำน้ำ มีรสหวานกลิ่นหอม
เมล็ด : รูปกลมสีดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dimocarpus longan Lour.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Longan
ชื่ออื่นๆ : บ่าลำไย, มะลำไย
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว
การขยายพันธุ์ของต้นลำไย
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นลำไย
- ใบ แก้หวัด แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคมาลาเรีย
- เนื้อลำไย เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด
- เมล็ด รักษาปัสสาวะไม่ออก รักษากระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ รักษากลากเกลื้อน รักษาอุจจาระเป็นเลือด แก้รักแร้มีกลิ่น รักษาแผล
- ราก แก้ตกขาว ขับพยาธิเส้นด้าย
- เปลือกต้น แก้ท้องร่วง
ประโยชน์ของต้นลำไย
- เนื้อผลสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้สดหรือทำน้ำลำไยและใช้ทานเป็นของหวาน และนำมาแปรรูป
- เนื้อไม้ใช้เผาถ่าน