ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นมะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Emblic myrabolan, Malacca tree.
ชื่ออื่นๆ : กันโตด, กำหวด
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เปลือกค่อนข้างเรียบ เกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาลอ่อน ลอกออกเป็นแผ่นได้ กิ่งก้านแข็ง เหนียว เนื้อไม้มีสีแดงอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มคล้ายร่ม ปลายกิ่งมักลู่ลง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบเฉียงและสอบเรียว ขนาดใบเล็ก ใบอ่อนสีชมพู มีขนละเอียด ใบแก่แผ่นใบสีเขียวเข้ม บาง ก้านใบสั้นมาก หูใบรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกสั้น ดอกสีขาวหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม
ผล : เป็นผลสด รูปทรงกลม เกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวอ่อน มีเนื้อหนา รสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง มีรอยแยกแบ่งออกเป็น 6 ซีก
เมล็ด : รูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งสีน้ำตาล มีสันตามยาว 6 สัน
การขยายพันธุ์ของต้นมะขามป้อม
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นมะขามป้อม
- ใบ ใช้ต้มน้ำอาบลดไข้, ต้มดื่มเป็นยาแก้ตัวบวมน้ำ ใช้พอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผลผื่นคัน
- เปลือกต้น ใช้โรยแก้บาดแผลเลือดออก แผลฟกช้ำ
- ผล แก้ไข้ แก้ลม แก้โรคตา บำรุงธาตุ แก้ไอ
- ผลอ่อน บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์ กัดเสมหะในคอ ทำให้เสียงไพเราะ
- ผลแก่ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุมคอ ระบายท้อง บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้ลักปิดลักเปิด
- ผลแห้ง แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ใช้หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ บำรุงหัวใจ ระบายท้อง
- ดอก เป็นยาเย็น และยาระบาย
- เมล็ด แก้โรคตาต่างๆ โรคเกี่ยวกับน้ำดี โรคเบาหวาน โรคหลอดลมอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน
- ราก แก้ไข้ เป็นยาเย็น ฟอกโลหิต แก้ร้อนใน ความดันโลหิตสูง แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน แก้พิษ
ประโยชน์ของต้นมะขามป้อม
- ผลสุก นำมารับประทานสด และเป็นอาหารพวกเก้งกวางและนก
- เนื้อไม้ ใช้ทำเสาอาคารบ้านเรือนขนาดเล็ก ไม้กระดาน ด้ามเครื่องมือการเกษตร ทำฟืน เผาถ่าน
- เปลือกและใบ ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลแกมเหลือง
- น้ำมันที่ได้จากเมล็ด ใช้ทำอาหาร สบู่ เทียนไข
- เนื้อในเมล็ด ใช้รับประทานได้