ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นจำปาสีทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre
ชื่อภาษาอังกฤษ : Champak
ชื่ออื่นๆ : จุมปา, จำปากอ, จำปาเขา, จำปาป่า
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ทรงพุ่มโปร่ง เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทาอมขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ รูปรี ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมมนหรือแหลม ใบมีขนาดใหญ่ ขอบเรียบ แผ่นใบบาง ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลทองหนาแน่น ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบอ่อนมีขนสั้นๆ ใบแก่ผิวเกลี้ยง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกตูมเป็นรูปกระสวย ดอกสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง ดอกมีกลิ่นหอมแรง ดอกออกทั้งปี
ผล : เป็นกลุ่ม ช่อผลห้อย ไม่มีก้านผลย่อย ผลค่อนข้างกลมหรือกลมรี เปลือกผลหนาและแข็ง ผลอ่อนสีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน มีช่องอากาศสีขาว ผลแก่เปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีเทา แตกตามร่องกลางผลในแนวตั้ง
เมล็ด : รูปทรงกลมหรือกลมรี เมล็ดแก่สีแดง
การขยายพันธุ์ของต้นจำปาสีทอง
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
การดูแลต้นจำปาสีทอง
ปลูกได้ในดินทั่วไป ต้องการน้ำมาก ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นจำปาสีทอง
- เปลือกต้น ใช้แก้ไข้
- ใบ แก้โรคทางระบบประสาท
- ดอก ขับลม ขับปัสสาวะ แก้โรคไต บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี แก้วิงเวียนศีรษะ
- เปลือกราก เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนปกติ ขับพยาธิ
- น้ำมันหอม ทาแก้ปวดศีรษะ แก้ตาอักเสบ บวมแก้โรคปวดข้อ
ประโยชน์ของต้นจำปาสีทอง
- นิยมปลูกในบริเวณบ้าน
- ดอก นำมาร้อยมาลัย