ลักษณะพฤกษศาสตร์ของข้าวสารดอกเล็ก (3430)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Raphistemma heoperianum Decne.
ชื่อวงศ์: ASCLEPIAPACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: ข้าวสาร เครือข้าวสาร (ภาคกลาง) ข้าวสารดอกเล็ก (กรุงเทพฯ) เมือยสาร (ชุมพร) เคือคิก (สกลนคร) ปลายสาน ดอกข้าวสาร ผักข้าวสาร (อุดรธานี-อีสาน)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้นหรือเถามีความสูงผิวของลำต้นหรือเถาจะเกลี้ยงเรียบ และหากลำต้นได้รับบาดแผลก็จะมียางสีขาวไหลออกมา
ใบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกน ขอบขนาน ตรงปลายใบจะแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ โคนใบเว้าทั้งสองข้าง และจะห้อยเป็นรูปติ่ง เนื้อใบจะบาง ด้านบนที่ตรงเส้นกลางใบจะมีขนสั้น ๆ และจะออกเป็นกระจุก ก้านใบเล็กและเรียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม กลีบดอกจะเป็นรูปไข ปลายมน ตรงบริเวณโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน และหนึ่งดอกจะมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาว และต่อมาจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนโคนดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว กลีบดอกจะยาวกว่าท่อดอกเล็กน้อย ที่บริเวณปลายกลีบดอกจะมีสีม่วงแต้ม ภายในดอกเกสรลักษณะเป็นเส้นสีขาว
ฝัก/ผล ฝักรูปไข่ แกมขอบขนานยาว
เมล็ด มีขนปุยสีขาว ปลิวไปตามลมได้
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด และการปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกมีกลิ่นหอม และแรงกว่ากลิ่นดอกชำมะนาด
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ และเพื่อการบริโภค
แหล่งที่พบ: ขึ้นตามชายป่าดิบทั่วไป พบมากทางแถบภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
ส่วนที่ใช้บริโภค: ช่อดอก เถา โคนของลำต้น
การปรุงอาหาร: - ดอก ใช้แกงส้ม เถา ลอกเปลือกจิ้มน้ำพริก
- โคนต้นที่หมกดิน ล้างแล้วต้มลอกเปลือกนำมา เป็นผักจิ้มน้ำพริก
ชื่อวงศ์: ASCLEPIAPACEAE
ชื่อสามัญ: -
ชื่อพื้นเมือง: ข้าวสาร เครือข้าวสาร (ภาคกลาง) ข้าวสารดอกเล็ก (กรุงเทพฯ) เมือยสาร (ชุมพร) เคือคิก (สกลนคร) ปลายสาน ดอกข้าวสาร ผักข้าวสาร (อุดรธานี-อีสาน)
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้นหรือเถามีความสูงผิวของลำต้นหรือเถาจะเกลี้ยงเรียบ และหากลำต้นได้รับบาดแผลก็จะมียางสีขาวไหลออกมา
ใบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกน ขอบขนาน ตรงปลายใบจะแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ โคนใบเว้าทั้งสองข้าง และจะห้อยเป็นรูปติ่ง เนื้อใบจะบาง ด้านบนที่ตรงเส้นกลางใบจะมีขนสั้น ๆ และจะออกเป็นกระจุก ก้านใบเล็กและเรียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม กลีบดอกจะเป็นรูปไข ปลายมน ตรงบริเวณโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน และหนึ่งดอกจะมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาว และต่อมาจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนโคนดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว กลีบดอกจะยาวกว่าท่อดอกเล็กน้อย ที่บริเวณปลายกลีบดอกจะมีสีม่วงแต้ม ภายในดอกเกสรลักษณะเป็นเส้นสีขาว
ฝัก/ผล ฝักรูปไข่ แกมขอบขนานยาว
เมล็ด มีขนปุยสีขาว ปลิวไปตามลมได้
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด และการปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกมีกลิ่นหอม และแรงกว่ากลิ่นดอกชำมะนาด
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ และเพื่อการบริโภค
แหล่งที่พบ: ขึ้นตามชายป่าดิบทั่วไป พบมากทางแถบภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
ส่วนที่ใช้บริโภค: ช่อดอก เถา โคนของลำต้น
การปรุงอาหาร: - ดอก ใช้แกงส้ม เถา ลอกเปลือกจิ้มน้ำพริก
- โคนต้นที่หมกดิน ล้างแล้วต้มลอกเปลือกนำมา เป็นผักจิ้มน้ำพริก