ค้นหาสินค้า

กุ่ม

จำหน่ายต้นกุ่ม กล้าและกิ่งพันธุ์กุ่ม สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นกุ่ม

กุ่มบก
กุ่มบก สระบุรี

ราคา 8,000.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกุ่ม

สระบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกุ่ม ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์กุ่ม

ขายเมล็ดพร้อมกุ่มบก
ขายเมล็ดพร้อมกุ่มบก เมืองระยอง ระยอง

ราคา 1.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์กุ่ม

ระยอง (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์กุ่ม ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้ากุ่ม

จังหวัดที่ขายต้นกล้ากุ่ม

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้ากุ่ม ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกุ่มบก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล ข้อเสีย สรรพคุณทางสมุนไพร ความเชื่อ ประโยชน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii DC.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Sacred barnar, Caper tree, Sacred garlic pear, Temple plant

ชื่ออื่นๆ : ผักก่าม, กุ่ม, ผักกุ่ม

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งก้านมักคดงอ เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือมีรอยแตกตามขวาง

ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนานุ่ม ผิวใบมัน แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน

ดอก : ออกเป็นช่อกระจุก ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ผล : สด รูปทรงกลมหรือรูปไข่ ผิวมีจุดสีน้ำตาลอมแดง เปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว พอสุกมีสีน้ำตาลแดง

เมล็ด : รูปเกือกม้าหรือรูปไต ผิวเรียบ

กุ่ม

การขยายพันธุ์ของต้นกุ่มบก

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

การดูแลต้นกุ่มบก

ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ขอบแดดจัด

ข้อเสียของต้นกุ่มบก

อย่าปลูกใกล้ตัวบ้านเรือนอาคารมาก เพราะกิ่งเขาเปราะ ฉีกขาดหักง่ายเวลาโดนลมแรงๆ

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกุ่มบก

- ใบ บำรุงหัวใจ ขับลม ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ช่วยขับเหงื่อ ขับพยาธิ บรรเทอาการปวดศรีษะ และโรคบิด

- แก่น ใช้รักษาริดสีดวงทวาร บำรุงเลือด แก้โรคนิ่ว

- ราก บำรุงธาตุ ใช้ขับหนอง

- ใบและเปลือก ราก ใช้ทำยาทาถูนวด

- เปลือกต้น ใช้เป็นยาระงับประสาทและยาบำรุง บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการสะอึก ขับลมในลำไส้ ช่วยในการย่อยอาหาร เป็นยาระบาย แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคนิ่ว ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับน้ำเหลืองแก้อาการบวม แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดพิษของงู

- กระพี้ ช่วยทำให้ขี้หูแห้งออกมา

- ดอก แก้เจ็บตาเจ็บคอ

ความเชื่อของต้นกุ่มบก

เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยทำให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคง เป็นกลุ่มเป็นก้อน นิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน

ประโยชน์ของต้นกุ่มบก

- ปลูกเป็นไม้ประดับ

- ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน นำมาดอกกับน้ำเกลือ รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกุ่มน้ำ (3874)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Crateva magna (Lour.) DC.
ชื่อวงศ์:    Cappardaceae
ชื่อพื้นเมือง:    ผักกุ่ม, รอถะ, เหาะเถาะ, อำเภอ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง   ผลัดใบ  เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซม. มีความสูงประมาณ 4-20 เมตร  ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาวหรือเทาแต้มขาวเป็นทาง  มีช่องระบายอากาศเล็กๆตามผิวทั่วไป
    ใบ    ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ก้านใบประกอบยาว 4-14 เซนติเมตร  ใบย่อย
รูปหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5- 6.5 เซนติเมตร  ยาว 4.5-18 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนามัน ใบเกลี้ยง
    ดอก    สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่ปลายกิ่ง ช่อยาว 10-16 เซนติเมตร มีดอกย่อย 12-20 ดอก   กลีบเลี้ยง 4 กลีบ  รูปรี  กลีบดอก 4 กลีบ รูปรีหรือทรงกลม ดอกบานเต็มที่กว้าง   3-4 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล    ผลแห้ง  แก่ไม่แตก  ทรงกลมหรือรี กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ผิวเปลือกหนามีสะเก็ดบาง ๆ ซึ่งจะเป็นสีเหลืองอมเทาขึ้นอยู่ทั่วไป
    เมล็ด    สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้า มีจำนวนมาก มีขนาดหนาประมาณ 2-3 มม. ยาวประมาณ 6-9 มม.
ฤดูกาลออกดอก:    ธ.ค.-เม.ย.
การขยายพันธุ์:    ใช้เมล็ด หรือการปักชำกิ่ง หรือการตอน
การปลูก:  ขึ้นได้ในดินทั่วไปที่อยู่ริมน้ำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ใบ
การใช้ประโยชน์:    - ปลูกเป็นไม้ประดับ
                             - สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:   - เปลือก ต้นใช้เป็นยาระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ แก้อาเจียน
                            - ใบ เป็นยาเจริญอาหาร ยาระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้โรคไขข้ออักเสบ
                            - ดอก รสเย็น แก้เจ็บตา และแก้เจ็บในคอ
                            - ลูก รสขม แก้ไข้
                            - ราก รสร้อน แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
การปรุงอาหาร:    ดอกและใบอ่อนดองหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้


กุ่มเป็นไม้มงคล (3875)

คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและยารักษาโรค
ต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูก    
       
เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัว มีฐานะ มีเงิน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้    
       

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกุ่มบก (3876)

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
ชื่อวงศ์:    Cappardaceae
ชื่อสามัญ:    sacred garlic pear, temple plant
ชื่อพื้นเมือง:    สะเบาถะงัน, ผักก่าม, เดิมถะงัน, ผักกุ่ม
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    ไม้ต้นขนาดเล็ก 6-10 เมตร ลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลอมเทา เปลือกค่อนข้างเรียบและหนา
    ใบ    ประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม กว้าง 8 –10 เซนติเมตร ยาว 12 – 14 เซนติเมตรโคนใบสอบแคบหรือเบี้ยว ก้านใบยาว
    ดอก    ดอกออกเป็นช่อตรงซอกใบหรือปลายกิ่ง ระยะแรกมีสีเขียว ต่อมามีสีขาวหรือขาวอมเหลือง ก่อนออก ดอกจะผลัดใบแล้วจึงออกดอกพร้อมกับผลิใบใหม่ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านชูเกสร ตัวผู้สีม่วง
    ฝัก/ผล    กลมรีหรือรูปไข่ สีเทาอมขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงและเปลือกเรียบ
    เมล็ด    รูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต ผิวเรียบ
ฤดูกาลออกดอก:    กุมภาพันธ์ - มิถุนายน
การใช้ประโยชน์:    - ปลูกเป็นไม้ประดับ
                             - สมุนไพร
แหล่งที่พบ:    ขึ้นตามดินทราย เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และป่าไผ่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 350 เมตร
สรรพคุณทางยา:   - เปลือกต้นใช้เป็นยาระงับประสาทและยาบำรุง
                            - ใบและเปลือกรากใช้ทาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากๆ