ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกระบก ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทางสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Barking Deer's Mango, Wild almond
ชื่ออื่นๆ : กะบก, จะบก, ตระบก, หมากบก, มะมื่น
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพอน เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก ปลายสอบเรียวเป็นติ่งมน โคนมน แหลม หรือเว้าเล็กน้อย ขอบเรียบ มีหูใบที่มีลักษณะพิเศษคือ ม้วนหุ้มยอด เรียวแหลม โค้งเล็กน้อยเป็นรูปดาบ
ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเขียวอ่อน
ผล : รูปกลมรีหรือค่อนข้างเป็นรูปไข่ แบนเล็กน้อย คล้ายผลมะม่วงขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง มีเนื้อหุ้มเหมือนมะม่วง
เมล็ด : แข็ง เนื้อในเมล็ดสีขาว มีน้ำมัน เนื้อในมีรสมัน
การขยายพันธุ์ของต้นกระบก
เพาะเมล็ด และ ตอนกิ่ง
การดูแลต้นกระบก
ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกระบก
- เนื้อไม้ ช่วยเจริญอาหาร ขับพยาธิในเด็ก
- ใบ แก้คันผิวหนัง
- เมล็ด บำรุงไขข้อในกระดูก แก้เส้นเอ็นพิการ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย บำรุงไต แก้ข้อขัด
- เนื้อในเมล็ดแก่ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงไขข้อ แก้ข้อขัด บำรุงไต ฆ่าพยาธิในท้อง
ประโยชน์ของต้นกระบก
- เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องมือกสิกรรม, แปรรูปเป็นไม้สำหรับก่อสร้างบ้าน, นำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์
- ใบอ่อน ใช้เป็นผักรับประทาน กับลาบ
- เนื้อในเมล็ดแก่ รับประทานได้
- น้ำมันที่ได้จากเมล็ด ใช้ทำอาหาร สบู่ เทียนไข