ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นกร่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ การขยายพันธุ์ การดูแล สรรพคุณทาสมุนไพร ประโยชน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus altissima Blume
ชื่อภาษาอังกฤษ : Banyan tree, Bar, East Indian Fig, Lofty Fig
ชื่ออื่นๆ : นิโครธ, ไทรทอง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบเรือนยอดกว้างปลายกิ่งลู่ลง มียางสีขาว และมีรากอากาศ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลปนเทา พุ่มค่อนข้างกลมและหนาทึบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนค่อนข้างมน ขอบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน หูใบรูปใบหอก
ดอก : ออกเป็นช่อออกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกสีขาวอมน้ำตาล
ผล : รูปไข่ ผลเป็นสีเขียวเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่ผลจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีเลือดหมู
การขยายพันธุ์ของต้นกร่าง
เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
การดูแลต้นกร่าง
ปลูกได้ในดินทั่วไป ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นกร่าง
- เมล็ด เป็นยาบำรุงร่างกาย
- เปลือกต้น แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องเสีย แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด
- ราก ป้องกันโรคเหงือกบวม
- ยาง แก้ท้องเสีย แก้โรคริดสีดวงทวาร แก้หูด แก้ไขข้ออักเสบ
- ใบ แก้ท้องร่วง แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด
- ผลสุก เป็นยาระบาย
ประโยชน์ของต้นกร่าง
- รากอากาศ ใช้ทำเชือก
- เปลือกลำต้นชั้นใน ใช้ทำกระดาษ
- ต้น ใช้เลี้ยงครั่ง
- ผล รับประทานได้ ผลแก่เป็นสีแดงคล้ำใช้เป็นอาหารนก
- นิยมปลูกไว้ตามศาสนสถานหรือตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงาและเพิ่มความร่มเย็น